นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า กระแสการปรับขึ้นดอกเบี้ยที่รุนแรงของธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น และเงินสกุลอื่นอ่อนค่าลง ทำให้ธนาคารปรับประมาณการค่าเงินบาทสิ้นปีนี้เป็น 35.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ จากประมาณการเดิมที่ 33.50 บาท โดยช่วง 1 เดือนนับจากนี้ค่าเงินบาทจะแกร่งตัว 2 ช่วงที่ 36.00-36.46 บาท และช่วงที่ 36.50-36.99 บาท
ทั้งนี้ คาดการประชุมเฟดรอบนี้จะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75% และการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เดือนหน้าจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% โดยกระแสเงินไหลออกที่เกิดจากส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยเฟดและดอกเบี้ยไทย เชื่อว่าไม่เกิดขึ้นมาก เห็นได้จากนักลงทุนต่างชาติที่ถือครองตราสารหนี้ระยะสั้น 1 ปี จากต้นปีมีอยู่ 187,000 ล้านบาท ล่าสุดเหลืออยู่ 96,000 ล้านบาท ประเมินว่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง หากมีการเทขายตราสารหนี้ระยะสั้นทั้งหมด ต่างชาติต้องปิดบัญชีโดยขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนทันที 52,000 ล้านบาท จากต้นปีที่มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 150,000 ล้านบาท ต้นทุนอัตราแลกเปลี่ยนของต่างชาติอยู่ที่ 34.84 บาท จึงมั่นใจเงินไม่ไหลออก “ดอกเบี้ยไทยน่าจะปรับขึ้นไปที่ 1% ต้นๆ ไม่ถึง 2% เนื่องจากเศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง และหากขึ้นดอกเบี้ยมากจะส่งผลให้ผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้น”
แหล่งข่าว กสิกรมองไทยไม่ขึ้นดอกเบี้ยแรงตามเฟด หวั่นผิดนัดชำระหนี้-มั่นใจเงินไม่ไหลออก, ไทยรัฐ, 22 ก.ค. 2565