สถานการณ์หนี้ครัวเรือนของประเทศไทยล่าสุด ณ ไตรมาส 3 ปี 2563 มีวงเงิน 13.77 ล้านล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมา และคิดเป็นสัดส่วน 86.6% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ซึ่งการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้รายได้ลดลงและมีผลต่อการชำระหนี้มากขึ้น
น.ส.จินางค์กูร โรจนนันต์ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผย "กรุงเทพธุรกิจ" ว่า แม้หนี้ส่วนใหญ่จะเป็นหนี้อสังหาริมทรัพย์และยานยนต์ แต่หนี้เพื่อการอุปโภคบริโภค (รวมทั้งหนี้จากสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต) มีสัดส่วนสูง ซึ่งเป็นหนี้ระยะสั้นและมีดอกเบี้ยสูง
ทั้งนี้ ทำให้ครัวเรือนต้องนำรายได้ส่วนหนึ่งมาชำระหนี้ และอาจส่งผลต่อความสามารถการออมของครัวเรือน เพราะ สศช.พบว่าความสามารถในการออมของครัวเรือนไทยยังต่ำเฉลี่ยเพียง 133,256 บาทต่อครัวเรือนเท่านั้น ซึ่งหนี้ครัวเรือนที่สูงกระทบกับความสามารถการออม
นอกจากนี้ปัญหาหนี้ครัวเรือนมาจากการมีรายได้น้อยและพฤติกรรมการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ซึ่งแรงงาน 1 ใน 3 ของประเทศเป็นแรงงานในภาคเกษตรกรรมที่มีรายได้น้อย และมีผลิตภาพต่ำขณะเดียวกันพฤติกรรมการใช้จ่าย โดยเฉพาะของคนรุ่นใหม่ขาดความระมัดระวัง
และกลุ่ม Gen Y มีการใช้จ่ายสินค้าประเภทฟุ่มเฟือย เช่น จำพวกโทรศัพท์ เสื้อผ้า เครื่องสำอาง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กระเป๋า นาฬิกา และเครื่องประดับ ถึง 69% ของเงินเดือน คิดเป็นมูลค่าเกือบ 100,000 บาทต่อปี หรือเป็นมูลค่ารวมทั้งประเทศ 1.37 ล้านล้านบาทต่อปี เทียบเท่ากับ 13% ของจีดีพี
โดยการซื้อสินค้าเหล่านี้ 70% เป็นการใช้เงินจากการกู้ธนาคารบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด รวมถึงเหตุผลหลักของการใช้จ่ายของคนกลุ่มนี้ 42% เป็นการซื้อตามเทรนด์ และ 37% คิดว่าสินค้าที่ซื้อเป็นของจำเป็น เช่น โทรศัพท์ และเสื้อผ้า สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมของคนกลุ่มนี้ ที่ใช้เงินก่อนออม ใช้จ่ายเกินตัวและไม่จำเป็น และขาดการวางแผน
สำหรับทักษะความรู้ทางการเงินของคนไทย สศช.พบว่ายังอยู่ในระดับต่ำ จากรายงานผลการสำรวจทักษะทางการเงินของไทย ปี 2559 ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่า ทักษะด้านความรู้ทางการเงินที่ยังเป็นจุดอ่อน หรือมีคะแนนไม่ถึง 50% ในการคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากทบต้นมีคะแนน 33.4%
แหล่งข่าว กับดักหนี้ครัวเรือน 13.7 ล้านล้าน 'สศช.'ชี้โควิดฉุดความสามารถจ่ายหนี้, bangkokbiznews, 14 เม.ย. 2564
น.ส.จินางค์กูร โรจนนันต์ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผย "กรุงเทพธุรกิจ" ว่า แม้หนี้ส่วนใหญ่จะเป็นหนี้อสังหาริมทรัพย์และยานยนต์ แต่หนี้เพื่อการอุปโภคบริโภค (รวมทั้งหนี้จากสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต) มีสัดส่วนสูง ซึ่งเป็นหนี้ระยะสั้นและมีดอกเบี้ยสูง
ทั้งนี้ ทำให้ครัวเรือนต้องนำรายได้ส่วนหนึ่งมาชำระหนี้ และอาจส่งผลต่อความสามารถการออมของครัวเรือน เพราะ สศช.พบว่าความสามารถในการออมของครัวเรือนไทยยังต่ำเฉลี่ยเพียง 133,256 บาทต่อครัวเรือนเท่านั้น ซึ่งหนี้ครัวเรือนที่สูงกระทบกับความสามารถการออม
นอกจากนี้ปัญหาหนี้ครัวเรือนมาจากการมีรายได้น้อยและพฤติกรรมการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ซึ่งแรงงาน 1 ใน 3 ของประเทศเป็นแรงงานในภาคเกษตรกรรมที่มีรายได้น้อย และมีผลิตภาพต่ำขณะเดียวกันพฤติกรรมการใช้จ่าย โดยเฉพาะของคนรุ่นใหม่ขาดความระมัดระวัง
และกลุ่ม Gen Y มีการใช้จ่ายสินค้าประเภทฟุ่มเฟือย เช่น จำพวกโทรศัพท์ เสื้อผ้า เครื่องสำอาง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กระเป๋า นาฬิกา และเครื่องประดับ ถึง 69% ของเงินเดือน คิดเป็นมูลค่าเกือบ 100,000 บาทต่อปี หรือเป็นมูลค่ารวมทั้งประเทศ 1.37 ล้านล้านบาทต่อปี เทียบเท่ากับ 13% ของจีดีพี
โดยการซื้อสินค้าเหล่านี้ 70% เป็นการใช้เงินจากการกู้ธนาคารบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด รวมถึงเหตุผลหลักของการใช้จ่ายของคนกลุ่มนี้ 42% เป็นการซื้อตามเทรนด์ และ 37% คิดว่าสินค้าที่ซื้อเป็นของจำเป็น เช่น โทรศัพท์ และเสื้อผ้า สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมของคนกลุ่มนี้ ที่ใช้เงินก่อนออม ใช้จ่ายเกินตัวและไม่จำเป็น และขาดการวางแผน
สำหรับทักษะความรู้ทางการเงินของคนไทย สศช.พบว่ายังอยู่ในระดับต่ำ จากรายงานผลการสำรวจทักษะทางการเงินของไทย ปี 2559 ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่า ทักษะด้านความรู้ทางการเงินที่ยังเป็นจุดอ่อน หรือมีคะแนนไม่ถึง 50% ในการคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากทบต้นมีคะแนน 33.4%
แหล่งข่าว กับดักหนี้ครัวเรือน 13.7 ล้านล้าน 'สศช.'ชี้โควิดฉุดความสามารถจ่ายหนี้, bangkokbiznews, 14 เม.ย. 2564