หนี้ที่สูงยังก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินและยับยั้งการใช้จ่ายของผู้บริโภคในเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งขัดขวางการฟื้นตัวจากวิกฤตโคโรนาซึ่งเศรษฐกิจตกต่ำที่สุดในรอบสองทศวรรษที่ผ่านมาเนื่องจากการส่งออกหดตัวและภาคการท่องเที่ยวที่ซบเซา
นอกจากนี้ยังมีการปรับแนวโน้มการเติบโตของ GDP ปี 2564 ลงเหลือ 3% จาก 3.2% โดยประเมินว่าเศรษฐกิจจะกลับสู่ระดับก่อนการระบาดประมาณช่วงกลางปี 2565 โดยที่ผ่านมาภาครัฐบาลได้ออกมาตรการกว่า 1 ล้านล้านบาทเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการระบาด แต่ดูเหมือนว่าจะยังไม่เพียงพอสำหรับประชาชนส่วนมาก ภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นมีแนวโน้มที่จะลดการบริโภคของภาคเอกชนซึ่งคิดเป็นครึ่งหนึ่งของ GDP ของไทยที่ 502 พันล้านดอลลาร์และจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้ให้กู้
สินเชื่อเพื่อผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 4.6% ในปีที่แล้ว ชะลอตัวจากการเพิ่มขึ้น 7.5% ในปี 2562 เนื่องจากการระบาดของโรคตัดกำลังซื้อของครัวเรือน แต่สินเชื่อที่มีความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยสินเชื่อรถยนต์พุ่งแตะ 9.5% ซึ่งสูงที่สุดในรอบสามปีเป็นอย่างน้อย อย่างไรก็ตาม Muangthai Capital ยังคงตั้งเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อปีละ 20-25% ในช่วง 4 ปีข้างหน้า
หลายปีที่ผ่านมาการปล่อยสินเชื่อเป็นไปง่ายดายสำหรับผู้บริโภคและภาคธุรกิจทำให้เกิดคำเตือนมากมายเกี่ยวกับอันตรายของหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นในประเทศไทย ขณะที่ การแพร่ระบาดทำให้ผู้คนหลายล้านต้องออกจากงาน คนงานประมาณ 4.7 ล้านคนมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการระบาด ซึ่งในจำนวนนี้มีคนงาน 1.2 ล้านคนอาจตกงานหรือยุติการทำงาน
ทั้งนี้ แม้ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวและมีงานเพิ่มขึ้น แต่การพักหนี้ก็ยังใช้เวลานานในการแก้ไขปัญหา
แหล่งข่าว Thai households struggle with record debt, COVID-19 increases burden โดย Reuters
แปลโดยทีม TradersThailand