คัดหุ้นเด่นรับอานิสงส์ ‘สินค้าโภคภัณฑ์’ ขาลง

WealthUp

Moderator
Staff member
Optimized-8.jpg

“เจอโรม พาวเวล” ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังคงตอกย้ำจุดยืนเร่งเดินหน้าแก้ปัญหาเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นอย่างร้อนแรง แตะระดับสูงสุดในรอบ 41 ปี ระหว่างการแถลงนโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจต่อสภาคองเกรสช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา
โดยระบุว่า เฟดมีเครื่องมือและมีความตั้งใจที่จะคุมเงินเฟ้ออย่างไม่มีเงื่อนไข หลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) รอบล่าสุด ใช้ยาแรงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% สูงสุดในรอบ 28 ปี สู่ระดับ 1.50-1.75%

และส่งสัญญาณว่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.50% หรือ 0.75% ในการประชุมนัดถัดไป โดยมีเป้าหมายว่าอัตราดอกเบี้ยสิ้นปีจะอยู่ที่ 3.4% และเพิ่มเป็น 3.8% ในสิ้นปี 2566 ก่อนลงมาที่ระดับ 3.4% อีกครั้งในปี 2567

ยาแรงของเฟดมีเป้าหมายที่จะดึงเงินเฟ้อลงมาแตะ 2% ให้ได้ จากตัวเลขล่าสุดเงินเฟ้อเดือนพ.ค. สูงถึง 8.6% ซึ่งต้องรอติดตามดูว่ามาตรการที่ออกมานั้นจะเพียงพอหรือไม่? หรือต้องเพิ่มความเข้มข้นขึ้นไปอีก?

ทั้งนี้ แม้ว่าเฟดจะมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐแข็งแกร่งพอที่จะปรับมือกับดอกเบี้ยขาขึ้น แต่ก็ไม่ปฏิเสธว่าการขึ้นดอกเบี้ยที่มากและเร็วเกินไป จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอย หรือ Recession

การเดินหน้าเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟดและความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐต้องเผชิญกับภาวะถดถอย นอกจากกดดันตลาดหุ้นแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) หลายชนิด เช่น น้ำมันดิบ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ อลูมิเนียม น้ำตาล ฯลฯ ที่ดีมานด์จะชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์เหล่านี้เริ่มปรับตัวลดลง

อย่างเช่น ราคาน้ำมันดิบ WTI เดือนนี้ปรับตัวลงมาแล้วเกือบ 10% จากราคาปิดเดือนพ.ค. ที่ 115 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ที่ตลาดลอนดอน เริ่มเปลี่ยนทิศเช่นกัน เดือนนี้ราคาลดลงกว่า 5% จากเดือนก่อนที่ 116 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เช่นเดียวกับราคาถ่านหินนิวคาสเซิลหลังเดินหน้าทำออลไทม์ไฮแตะ 430 ดอลลาร์ต่อตัน ปัจจุบันถูกขายลงมาต่ำกว่า 400 ดอลลาร์ต่อตัน

สถานการณ์ขณะนี้เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์หลายชนิดที่ปรับตัวขึ้นมาร้อนแรง ตั้งแต่เกิดสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน รวมทั้งเมื่อโรคระบาดโควิด-19 คลี่คลายทำให้ดีมานด์เร่งตัวขึ้น

แต่เมื่อเกิดความกังวลว่าเศรษฐกิจกำลังเผชิญกับภาวะถดถอย ราคาก็เปลี่ยนทิศทันที ดังนั้น ธีมการลงทุนในช่วงนี้ต้องปรับตามไปด้วย จากกลุ่มที่จะได้ประโยชน์จากสินค้าโภคภัณฑ์ขาขึ้น มาเป็นกลุ่มที่จะได้รับประโยชน์จากราคาสินค้าภัณฑ์ที่ลดลง หรือ กลุ่ม Anti Commodity เช่น กลุ่มโรงไฟฟ้า ปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ ปูนซิเมนต์ ไปจนถึงสายการบิน ที่มีน้ำมันและก๊าซธรรมชาตเป็นต้นทุนหลัก

แหล่งข่าว คัดหุ้นเด่นรับอานิสงส์ ‘สินค้าโภคภัณฑ์’ ขาลง, bangkokbiznews, 26 มิ.ย. 2565
 

Members online

No members online now.

Forum statistics

Threads
12,180
Messages
12,435
Members
319
Latest member
SEO01

สนับสนุนโดย

Top