ตกอยู่ในสภาวะ “ขาลง” สำหรับการชุมนุมของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า ‘ราษฎร’ ที่ไม่สามารถกดดันการบริหารงานรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แม้แกนนำคนสำคัญทยอยถูกเจ้าหน้าที่รัฐจับกุม และแยกตัวนำไปฝากขังเรือนจำต่างๆ จนสร้างความไม่พอใจ แต่การรวมตัวของมวลชนก็ไม่ได้เปรี้ยงปร้างเช่นปีที่ผ่านมา
นับตั้งแต่ 4 แกนนำราษฎร ประกอบด้วย อานนท์ นำภา พริษฐ์ ชิวารักษ์ ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม และ สมยศ พฤกษาเกษมสุข ตกเป็นผู้ต้องหาคดีหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ และยุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ 116 จากการชุมนุม “19 กันยา ทวงอำนาจคืนราษฎร” เมื่อปี 2563 จนถูกควบคุมตัวไว้ที่เรือนจำกลางคลองเปรม ตั้งแต่ 9 ก.พ.2564
ทำให้แกนนำที่เหลืออยู่พยายามยกระดับการเคลื่อนไหว ด้วยการนัดหมายมวลชนชุมนุมในย่านธุรกิจใจกลางเมืองทั้ง สกายวอล์กแยกปทุมวัน หน้าห้างมาบุญครอง หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) หวังกดดันให้ปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังทั้งหมด
ขณะนี้ ‘แกนนำราษฎร’ กำลังประสบปัญหา ‘มวลชน’ไม่เอาด้วยกับการชุมนุม หลังจากแนวทางที่เคยมุ่งขับไล่รัฐบาล ‘พล.อ.ประยุทธ์’ ผิดเพี้ยนไปจากเดิม รวมถึงเนื้อหาสาระ ที่ขาดซึ่งข้อมูล-หลักฐานมารองรับ อีกทั้งความรุนแรงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจัยสำคัญทำให้จำนวนคนเข้าร่วมลดน้อยลงเรื่อยๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกระทำของแกนนำ และแนวร่วมส่วนหนึ่ง แสดงออกถึงการเหยียบย่ำประเทศตัวเอง เช่น การปลดธงชาติแทนที่ด้วยผ้าสี ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่เคยเกิดขึ้นกับการชุมนุมทางการเมืองในอดีต ไม่ว่าจะเกิดความขัดแย้งในสังคมรุนแรงเพียงใด จึงเป็นปัจจัยทำให้ ‘ม็อบราษฎร’ ไปได้ไม่สุดเหมือนม็อบเสื้อเหลือง เสื้อแดง และ กปปส.
แหล่งข่าว จุดยืนเสี่ยง-มวลชนหาย ‘ม็อบราษฎร’ แรงได้อีก ?, Bangkokbiznews, 19 มี.ค. 2564
นับตั้งแต่ 4 แกนนำราษฎร ประกอบด้วย อานนท์ นำภา พริษฐ์ ชิวารักษ์ ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม และ สมยศ พฤกษาเกษมสุข ตกเป็นผู้ต้องหาคดีหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ และยุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ 116 จากการชุมนุม “19 กันยา ทวงอำนาจคืนราษฎร” เมื่อปี 2563 จนถูกควบคุมตัวไว้ที่เรือนจำกลางคลองเปรม ตั้งแต่ 9 ก.พ.2564
ทำให้แกนนำที่เหลืออยู่พยายามยกระดับการเคลื่อนไหว ด้วยการนัดหมายมวลชนชุมนุมในย่านธุรกิจใจกลางเมืองทั้ง สกายวอล์กแยกปทุมวัน หน้าห้างมาบุญครอง หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) หวังกดดันให้ปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังทั้งหมด
ขณะนี้ ‘แกนนำราษฎร’ กำลังประสบปัญหา ‘มวลชน’ไม่เอาด้วยกับการชุมนุม หลังจากแนวทางที่เคยมุ่งขับไล่รัฐบาล ‘พล.อ.ประยุทธ์’ ผิดเพี้ยนไปจากเดิม รวมถึงเนื้อหาสาระ ที่ขาดซึ่งข้อมูล-หลักฐานมารองรับ อีกทั้งความรุนแรงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจัยสำคัญทำให้จำนวนคนเข้าร่วมลดน้อยลงเรื่อยๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกระทำของแกนนำ และแนวร่วมส่วนหนึ่ง แสดงออกถึงการเหยียบย่ำประเทศตัวเอง เช่น การปลดธงชาติแทนที่ด้วยผ้าสี ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่เคยเกิดขึ้นกับการชุมนุมทางการเมืองในอดีต ไม่ว่าจะเกิดความขัดแย้งในสังคมรุนแรงเพียงใด จึงเป็นปัจจัยทำให้ ‘ม็อบราษฎร’ ไปได้ไม่สุดเหมือนม็อบเสื้อเหลือง เสื้อแดง และ กปปส.
แหล่งข่าว จุดยืนเสี่ยง-มวลชนหาย ‘ม็อบราษฎร’ แรงได้อีก ?, Bangkokbiznews, 19 มี.ค. 2564