Tha Peng เล่าต่อไปว่า ในที่สุดวันที่ 1 มี.ค. 2564 ตัดสินใจทิ้งครอบครัว เดินทางข้ามฝั่งไปยังรัฐมิโซรัมของอินเดีย ทั้งนี้ Tha Peng ไม่ได้ให้ข้อมูลว่า ผู้บังคับบัญชาคนใดที่ออกคำสั่งดังกล่าว
ข้อมูลของ Tha Peng สอดคล้องกับคำบอกเล่าของอดีตตำรวจเมียนมาคนอื่นๆ ที่กล่าวกับตำรวจรัฐมิโซรัม เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2564 จำนวน 4 นายที่หนีข้ามพรมแดนเข้าไปในอินเดีย
สำนักข่าวรอยเตอร์พยายามสอบถามไปยังฝ่ายกองทัพเมียนมา แต่ไม่ได้รับการแสดงความคิดเห็นใดๆ ทั้งนี้ การชุมนุมต้านรัฐประหารในเมียนมาเกิดขึ้นทุกวันพร้อมกับการปราบปรามผู้ประท้วงโดยกองกำลังฝ่ายความมั่นคง มีผู้เสียชีวิตแล้วรวม 60 ราย ถูกจับกุมอีก 2,000 คน ขณะที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายอินเดีย เปิดเผยว่า ขณะนี้มีชาวเมียนมาราว 100 คน ส่วนใหญ่เป็นตำรวจและครอบครัว หลบหนีข้ามแดนมายังอินเดีย หลายคนอาศัยในเมือง Champhai รัฐมิโซรัม
ยังมีตำรวจอีก 4 นาย ที่เชื่อว่าทหารกดดันให้ตำรวจต้องมาเป็นด่านหน้าเพื่อเผชิญหน้ากับประชาชน ขณะที่ อีกเจ้าหน้าที่รายหนึ่งกล่าวว่า ตนถูกผู้บังคับบัญชาตำหนิว่าไม่ทำตามคำสั่งและถูกลงโทษด้วยการสั่งย้าย ทำให้ตัดสินใจขอความช่วยเหลือจากนักเคลื่อนไหวด้านประชาธิปไตย เพื่อหลบหนีข้ามไปย้งรัฐมิโซรัมในวันที่ 6 มี.ค. 2564 โดยมีค่าใช้จ่าย 2 แสนจ๊าด หรือ 143 เหรียญสหรัฐ (4,433 บาท) ซึ่งแม้จะเป็นคนละประเทศ แต่ตามแนวชายแดนเมียนมา-อินเดีย มีการอนุญาตให้เดินทางเข้าไปในพื้นที่ใกล้ๆ เพียงไม่กี่ไมล์ โดยไม่ต้องขอใบอนุญาตเดินทาง
Zoramthanga หัวหน้ามุขมนตรีของรัฐมิโซรัม กล่าวว่า ขณะนี้รัฐมิโซรัมอนุญาตให้อดีตตำรวจเมียนมากลุ่มนี้พักอาศัยอยู่ได้ ส่วนจะส่งตัวกลับหรือไม่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลกลางอินเดีย ในขณะที่ Tha Peng กล่าวว่า แม้ตนจะคิดถึงครอบครัว แต่ก็กลัวที่จะกลับไปยังเมียนมา
แหล่งข่าว Exclusive: 'Shoot till they are dead' - Some Myanmar police say fled to India after refusing orders โดย Reuters
แปลโดยทีม TradersThailand