ทำความเข้าใจ WACC คืออะไร? ช่วยบอกอะไรกับเราเมื่อต้องลงทุน?

adminthailand1

Administrator
เราพาทุกคนมารู้จักว่า WACC คืออะไร แล้วเจ้า WACC ตัวนี้จะเข้ามาช่วยอะไรให้กับเจ้าของกิจการรวมถึงนักลงทุน การคำนวณ WACC ต้องทำยังไง มาดูกัน

เมื่อมีกิจการเป็นของตัวเองเรียบร้อยแล้ว การขยายสาขาหรือแพลนโปรเจกต์เพิ่มเติมก็เป็นสิ่งที่จะต้องมีตามมาไม่ช้าก็เร็วเพื่อที่จะได้เจริญเติบโตและมีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้นวันนี้เราจึงพาทุกคนมารู้จักว่า WACC คืออะไร แล้วเจ้า WACC ตัวนี้จะเข้ามาช่วยอะไรให้กับเจ้าของกิจการรวมถึงนักลงทุน บอกเลยว่าค่า WACC ที่เราจะมาพูดถึงกันนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยทำให้ทุกคนเห็นภาพและสามารถประเมินความเป็นไปได้ของการขยายสาขาหรือการทำโปรเจกต์ใหม่ๆ ได้อย่างแน่นอน ว่าแล้วเราก็มาเริ่มดูกันเลย


WACC คืออะไร?

WACC คือต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยของบริษัท (Weighted Average Cost of Capital) หากให้พูดง่ายๆ แล้ว การหาค่า WACC ตัวนี้ก็จะช่วยทำให้เรารู้ได้ว่าแต่ละโปรเจกต์นั้นคุ้มค่าหรือไม่ เนื่องจากเราได้รู้ต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยเรียบร้อยแล้วนั่นเอง อย่างไรก็ตามก่อนที่จะคิดได้ว่า WACC มีค่าเท่าไหร่ ก็ต้องทำความเข้าใจวิธีการคิดคำนวณหาต้นทุนทางการเงินทั้งหมดก่อนว่าควรเริ่มจากจุดไหน ซึ่งเรื่องนี้ก็เกี่ยวเนื่องกับเรื่องโครงสร้างต้นทุนทางการเงินอย่าง Capital structure ด้วยนั่นเอง
Capital Structure คือ

สำหรับ Capital structure หรือโครงสร้างต้นทุนนั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในหัวข้อของการบริหารการเงินก็ว่าได้ เป็นรากฐานที่จะทำให้เรารู้ได้ว่าค่า WACC คือเท่าไหร่ โครงสร้างนี้เมื่อรวมกันแล้วเราจะเรียกว่า สินทรัพย์ (Asset) โดยสินทรัพย์ของบริษัทนั้นจะมาได้จาก 2 ส่วนด้วยกันก็คือ เงินทุนของเราเอง (Equity) และเงินกู้ยืม (Debt) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเงินกู้ยืมจากธนาคาร ซึ่งจะมีการคิดดอกเบี้ยเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อปี

สินทรัพย์ (Asset) = เงินทุนของเรา (Equity) + เงินกู้ยืม (Dept)


สูตรการคำนวณหา WACC

เมื่อเรารู้รายละเอียดโครงสร้างต้นทุนของเราแล้วก็จะกลับมาหาว่า WACC คือเท่าไหร่ได้ โดยเราก็มีสูตรการคิดหาค่า WACC ดังนี้

WACC = We*Ke + Wd*Kd*(1-T)

We = สัดส่วนของผู้ถือหุ้นเมื่อเทียบกับเงินลงทุนทั้งหมด
Ke = ต้นทุนเงินลงทุนของผู้ถือหุ้น สามารถคำนวณได้จากสูตร CAPM (Capital Asset Pricing Model)
Wd = สัดส่วนของเจ้าหนี้เมื่อเทียบกับเงินลงทุนทั้งหมด
Kd = ต้นทุนเงินลงทุนของเจ้าหนี้หรือดอกเบี้ย สามารถหาได้จากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้หรืออัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้ที่เจ้าของบริษัทเลือกมา สำหรับส่วนนี้จะถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นดอกเบี้ยที่จ่ายชำระหนี้นั้น จะสามารถนำไปหักค่าใช้จ่ายและใช้ลดภาษีที่จะต้องเสียได้
T = อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งประเทศไทยคิดส่วนนี้อยู่ที่ 20% ด้วยกัน


กดค่า WACC ให้ต่ำทำได้หรือไม่

เนื่องจากการหาค่า WACC คือเท่าไหร่นั้นมีสูตรที่ตายตัว เพราะฉะนั้นถ้าหากหัวหมอสักนิดเราก็จะจับจุดได้ว่าควรที่จะกดค่าส่วนใดให้ต่ำสุด แน่นอนว่าเมื่อวาดกราฟตีตารางออกมา การกู้ยืมเงินมาลงทุนโปรเจกต์ใหม่ 100% จะเป็นทางที่ดีที่สุดหากต้องการค่า WACC ต่ำๆ

แต่ทุกคนต้องอย่าลืมคิดคำนวณถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นด้วย เนื่องจากการกู้ยืมนั้นมีเรื่องของดอกเบี้ยเข้ามาเกี่ยวข้อง การกู้เยอะก็เท่ากับบริษัทเรามีหนี้เยอะ ดอกเบี้ยที่ตามมายิ่งเยอะ ยิ่งในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจไม่คงที่ ถ้าหากกู้เงินมาทั้งหมดและโปรเจกต์ได้ผลตอบแทนไม่ได้ตามที่หวัง นอกจากจะมีสิทธิ์ทำให้ชำระหนี้เงินกู้ล่าช้าจนมีปัญหาแล้ว ยังทำให้สัดส่วนหนี้ต่อทุนสูงขึ้นเป็นอย่างมากอีกด้วย

เพราะฉะนั้นแล้วถ้าหากให้แนะนำ การใช้เงินทุนของต้นเอง 50% และอีก 50% เป็นเงินจากการกู้ยืม ก็จะเป็นหนทางที่ดีที่สุด อีกทั้งยังทำให้ตัวเลขที่คำนวณออกมานั้นสวย เมื่อนำเสนอก็มีสิทธิ์ที่โปรเจกต์นั้นๆ จะผ่านการพิจารณา

สรุปแล้ว WACC บอกอะไรเราเมื่อเราจะลงทุน

ถ้าหากให้กล่าวเป็นคำพูดว่าโปรเจกต์ของเรานี้เมื่อได้ดำเนินการจะได้กำไรอย่างแน่นอน ก็คงไม่มีใครเชื่อคำพูดปากเปล่าเหล่านี้ ส่งผลให้โปรเจกต์ดังกล่าวไม่ผ่านบอร์ดบริหาร แต่การที่เรามีค่า WACC คือเท่าไหร่อยู่ในมือ เราก็สามารถนำค่า WACC นั้นๆ มาวัดหาความคุ้มค่าในการลงทุนโปรเจกต์นั้นๆ ได้ เนื่องจากสูตรการคิดคำนวณหาค่าต่างๆ เหล่านี้ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายและมีความน่าเชื่อถือสูง สามารถนำมาเป็นข้อมูลอ้างอิงและพิจารณาในการนำเสนอโปรเจกต์ได้นั่นเอง

WACC คือส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ โดยส่วนใหญ่แล้วเรามักจะนำค่า WACC มาใส่สูตรและค้นหาค่า NPV และ IRR ต่อเพื่อนำมาหาความคุ้มค่าของโปรเจกต์นั้นๆ โดยถ้าค่า NPV (Net Present Value) มากกว่า 0 ก็คือมีผลตอบแทนสุทธิเป็นบวกและประมาณการได้ว่าคุ้มค่าแก่การลงทุน สำหรับค่า IRR (Internal Rate of Return) จะแสดงถึงผลตอบแทนภายในเฉลี่ยต่อปี ซึ่งค่า IRR ที่ออกมาควรจะสูงกว่าค่า WACC ถ้าหากมีค่า IRR ต่ำกว่าก็จะแสดงว่าผลตอบแทนภายในเฉลี่ยนั้นยังไม่มากพอจะนำมาทบคืนต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยของบริษัทนั่นเอง

สรุป

เพราะฉะนั้นแล้วการหาค่า WACC คือเท่าไหร่ของโปรเจกต์นั้นๆ จะเป็นตัวช่วยที่ดีมากในการตัดสินใจว่าจะเดินหน้าต่อกับโปรเจกต์ที่วางแผนไว้หรือจะพับเก็บไปก่อน โดยข้อมูลที่เรานำมาแบ่งปันครั้งนี้เป็นเพียงข้อมูลพื้นฐานที่สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายๆ ถ้าหากใครต้องการรู้รายละเอียดลึกๆ เพิ่มเติม ก็สามารถติดตามหัวข้ออื่นๆ ในอนาคตได้เลย
 

Members online

No members online now.

Forum statistics

Threads
12,102
Messages
12,357
Members
319
Latest member
SEO01

สนับสนุนโดย

Top