ธนาคารกลางของโลกกำลังเตรียมลดการกระตุ้น ขณะที่เฟดยังคงมุ่งมั่นที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ใกล้ศูนย์จนถึงสิ้นปีหน้าอย่างเร็วที่สุด แรงกดดันด้านเงินเฟ้ออาจเร่งขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าและมีแนวโน้มเพิ่มความผันผวนในตลาดการเงินโลก
สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศ การกลับสู่สภาวะก่อนเกิดโรคระบาดหมายถึงการถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางได้ดำเนินการไปแล้ว
“มีความแตกต่างกันอย่างมากในกลุ่มเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดใหญ่ ธนาคารกลางเกิดใหม่บางแห่งอาจถูกบังคับให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อปกป้องสกุลเงิน แม้จะต้องเผชิญกับความเสียหายต่อเศรษฐกิจที่ยังคงเปราะบางของพวกเขา” Takahide Kiuchi อดีตกรรมการธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ)
ในด้านเฟดกล่าวว่า จะไม่เริ่มลดมาตรการกระตุ้นครั้งใหญ่ จนกว่าจะมี "ความคืบหน้าอย่างมาก" ในการฟื้นฟูตลาดแรงงานในสหรัฐฯ แต่ขณะนี้ ตลาดกำลังเตรียมพร้อมสำหรับโอกาสที่เฟดจะเริ่มการทำ Tapering ที่อาจเริ่มขึ้นการในปลายปีนี้
อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางของแคนาดากลายเป็นประเทศแรกในกลุ่ม 7 ประเทศที่ถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในยุคการระบาดใหญ่ และอัตราที่ส่งสัญญาณจะเริ่มขึ้นในปี 2565 ธนาคารกลางนอร์เวย์ได้ประกาศแผนการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในไตรมาสที่สามหรือสี่ของปี 2564 แล้ว เช่นเดียวกับนิวซีแลนด์และเกาหลีใต้ต่างเริ่มส่งสัญญาณในทำนองเดียวกัน แม้แต่ธนาคารกลางของญี่ปุ่นซึ่งแทบไม่ขยับจากนโยบายที่เอื้อ ก็อาจหันหลังให้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ประเทศกำลังพัฒนาต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดจากการเข้มงวดของเฟด ซึ่งในอดีตทำให้เกิดความปั่นป่วนของตลาด เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐที่เพิ่มสูงขึ้นดึงดูดเงินทุนเข้าสู่สินทรัพย์ดอลลาร์ ดังที่เกิดขึ้นในปี 2541 และ 2556
ตลาดเอเชีย ซึ่งเป็นศูนย์กลางของวิกฤตการเงินเอเชียในปี 2541 ยังคงอยู่ในสภาพที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีทุนสำรองต่างประเทศที่แข็งแกร่งเพื่อรองรับการเสียค่าเงิน
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผู้ว่าการธนาคารกลางของอินเดียกล่าวว่าขณะนี้เงินสำรองของตนเกิน 6 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งคาดว่าจะช่วยรับมือกับความท้าทายดังกล่าว
“วิกฤตครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งก่อนเพราะไม่ใช่วิกฤตทางการเงินหรือวิกฤตเศรษฐกิจ” Nobuyasu Atago อดีตเจ้าหน้าที่ของ BOJ ซึ่งปัจจุบันเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ Ichiyoshi Securities ของญี่ปุ่นกล่าว "ความไม่สม่ำเสมอของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันทำให้เกิดความเสี่ยงที่หลากหลายสำหรับประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่"
อาทิ อินโดนีเซีย ซึ่งอาศัยกระแสเงินไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อใช้เป็นเงินทุนสำหรับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด นอกจากนี้ ธนาคารกลางในตลาดเกิดใหม่ที่มีความเสี่ยงมากขึ้น เช่น บราซิล กานา และอาร์เมเนีย
แหล่งข่าว As Fed taper looms, global central banks eye their own exits from stimulus โดย Reuters
แปลโดยทีม TradersThailand