ปฏิรูปรัฐราชการ โมเดลหลัง "โควิด"

WealthUp

Moderator
Staff member
Optimized-11.JPG

เมื่อวานนี้ (2 พ.ย.) สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ จัดงานสัมมนาประจำปี ความท้าทายและจินตนาการแห่งโลกใหม่ : โมเดลใหม่ในการพัฒนาประเทศหลังโควิด-19 โดยมีวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญในองค์กรและนักวิชาการภายนอก เข้าร่วมสัมมนา

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวในหัวข้อ “ฟื้นฟู-ต่อเติม เพื่อเติบโต” นำเสนอการปรับ “โมเดล” การพัฒนาประเทศ “หลังโควิด” เป้าหมายเพิ่มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) อีก 2% จาก 4 ภาคส่วน เพื่อก้าวขึ้นเป็นประเทศรายได้สูงในอีก 20 ปี

1. การปฏิรูปภาครัฐ แก้กฎระเบียบที่ล้าสมัยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทย
2. การเพิ่มคุณภาพประชากร ต้องริเริ่มตั้งแต่เด็กปฐมวัย
3. การลดความสูญเสียของประชากร เช่น ลดความสูญเสียที่ไม่จำเป็นจากอุบัติเหตุให้ได้อย่างน้อย 50%ใน 5 ปี
4. การต่อเติมเพื่อสร้างผลิตภาพการผลิตภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ เช่น การลงทุนฟื้นฟูแหล่งการท่องเที่ยว การสร้างเศรษฐกิจสีเขียว

1 ใน 4 เรื่องสำคัญที่ "ทีดีอาร์ไอ" นำเสนอมาอย่างต่อเนื่อง คือ การเร่งปฏิรูปภาครัฐ

ก่อนหน้านี้ เวทีที่ทีดีอาร์ไอร่วมจัดสัมมนา ให้ความสำคัญกับการปฏิรูปราชการ บางเวทีเสนอให้ประเทศไทยสังคายนา "กฎหมาย" ที่เป็นอุปสรรคในการทำมาหากินของประชาชนและการทำธุรกิจ เพื่อนำไปสู่การจ้างงาน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและดึงดูดเงินทุนต่างชาติ

จากการที่ดีอาร์ไอได้ทำการศึกษากิโยติน 1,094 กระบวนงานของการอนุญาต 198 เรื่อง พบว่าสามารถลดต้นทุนตรงและค่าเสียโอกาสของภาคธุรกิจได้ถึง 1.3 แสนล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็น 0.8% ของจีดีพีไทย

ปัจจุบันเรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาเหมาะสมที่สุด ที่ประเทศไทยจะปรับเปลี่ยนโมเดลการพัฒนาประเทศและฟื้นฟูเศรษฐกิจใหม่ รับสังคมสูงวัย รับโลกยุคหลังโควิด หลายฝ่ายเห็นตรงกันว่าระบบราชการที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ กับกฎหมายที่ล้าสมัย เป็นตัวถ่วงความเจริญของเอกชนและทำให้ภาคประชาชนอ่อนแอ

ดังนั้น ช่วงก้าวผ่านโรคอุบัติใหม่นี้ ภาครัฐจะต้องดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจัง จำเป็นต้องลดการเติบโตของ “รัฐราชการ” และปฏิรูปให้เกิดขึ้นจริง เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม
ประเทศไทยวันนี้มีปัญหาเชิงโครงสร้าง รัฐบาลที่ผ่านมาอาจรับรู้ปัญหา แต่ทำเหมือนกันคือเตะถ่วงเวลาในการแก้ไข กลายเป็นการหมักหมมปัญหา หากรัฐบาลชุดปัจจุบันยังบริหารจัดการแบบเดิม อาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เท่าทันกับความเสี่ยงจากสภาวะแวดล้อมที่กำลังมีปัจจัยใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผลักดันให้มีการสะสมพลังในที่สุด
เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงจะมีความรุนแรง เกิดการสูญเสียโดยไม่จำเป็น เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ไม่อยากเห็นความเจ็บปวดที่หลีกเลี่ยงได้ แต่ผู้มีอำนาจไม่ยอมเลี่ยง

แหล่งข่าว ปฏิรูปรัฐราชการ โมเดลหลัง "โควิด", bangkokbiznews, 3 พ.ย. 2564
 

Members online

No members online now.

Forum statistics

Threads
12,180
Messages
12,435
Members
319
Latest member
SEO01

สนับสนุนโดย

Top