พาณิชย์ชี้“เงินเฟ้อ”ไทย ไม่เข้าเงื่อนไข Stagflation

WealthUp

Moderator
Staff member
Optimized-13.jpg

รณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (อธิบดี สนค.) เปิดเผยว่า จากข้อมูลเศรษฐกิจของไทยในภาพรวมและรายสาขา และแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเงินเฟ้อในไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 ชี้ว่า ไทยยังไม่เข้าสู่ภาวะ Stagflation

เนื่องจากในภาวะที่เศรษฐกิจถดถอย กิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่จะมีแนวโน้มลดลง ทั้งภาคการผลิต การบริโภค การใช้จ่ายภาครัฐ การลงทุน และการส่งออก ส่งผลต่อการจ้างงาน รายได้ และความต้องการ ซึ่งในที่สุดจะเป็นแรงกดดันให้ราคาสินค้าและบริการหรือเงินเฟ้อลดลง อย่างไรก็ตาม หากมีปัจจัยอื่นที่กดดันให้ราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะปัจจัยด้านต้นทุน อาทิ ราคาน้ำมัน ค่าขนส่ง และราคานำเข้า อาจทำให้เงินเฟ้อโดยรวมขยายตัวและเกิดภาวะ Stagflation ได้ในที่สุด

จากเงื่อนไขดังกล่าวหากพิจารณาจากเศรษฐกิจไทย ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ที่ชี้ว่า ไทยยังไม่เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) แม้ว่า GDP ในไตรมาสที่ 3 จะลดลง0.3% (YoY) เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายประเภทถูกจำกัด ขณะที่เศรษฐกิจไตรมาสที่ 2 ของปี ขยายตัวถึง7.6% ส่งผลให้เศรษฐกิจของไทยเฉลี่ย 9 เดือนของปี 2564 ขยายตัว1.3% และในช่วงที่เหลือของปี 2564 และ ปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจสำคัญที่ส่งสัญญาณว่า เศรษฐกิจไทยบางส่วน ยังคงขยายตัวและบางส่วนเริ่มฟื้นตัว โดยเฉพาะการส่งออกสินค้า การลงทุนภาคเอกชน การใช้จ่ายภาครัฐ และการผลิต

รณรงค์ กล่าวถึง เงินเฟ้อของไทยว่า ในพ.ย.ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น2.71% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และสินค้าในกลุ่มอาหารบางชนิด และเงินเฟ้อเฉลี่ย 11 เดือน (ม.ค.- พ.ย.) ปี 2564 สูงขึ้น1.15% (AoA) ซึ่งตัวเลขเงินเฟ้อดังกล่าว ไม่ถือว่าเป็นระดับที่สูงและยังไม่น่ากังวลมากนัก

เมื่อพิจารณาราคาน้ำมันในช่วงดังกล่าว พบว่า ราคาน้ำมันดิบดูไบ เม.ย. เฉลี่ย 63.03 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น207.16% yoy เพราะเม.ย. 2563 เป็นช่วงที่ราคาน้ำมันต่ำสุดในปีนี้ ที่ 20.52 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทำให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศ เพิ่มขึ้น38.30% และ น้ำมันเชื้อเพลิงยังมีสัดส่วนในตะกร้าเงินเฟ้อค่อนข้างมาก ที่ 8.1% แน่นอนย่อมกระทบเงินเฟ้อให้เพิ่มขึ้น แต่ต่อมามีทิศทางราคาน้ำมันก็ลดลง และกลับมาเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอีกครั้งในช่วงก.ย.-พ.ย. ดังนั้น จึงถือว่าเงินเฟ้อในเดือนพ.ย.2564 ไม่อยู่ในระดับที่สูงจนเกินไป และยังอยู่ในกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่กำหนดไว้ในช่วง1.0 – 3.0% ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมและ เอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ

สำหรับแนวโน้มราคาสินค้าปี 2565 อาทิ น้ำมันเชื้อเพลิง คาดว่า ราคาน้ำมันดิบในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 จะสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มลดลงในช่วงครึ่งปีหลัง ทั้งนี้ ในภาพรวมราคาน้ำมันดิบโดยเฉลี่ยปี 2565 มีแนวโน้มใกล้เคียงกับปี 2564 สำหรับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศปี 2565 มีทิศทางที่สอดคล้องกับ การเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงต้นปี 2565 และจะค่อย ๆ ปรับลดลงในช่วงปลายปี 2565

จากตัวเลขสถานการณ์เศรษฐกิจต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งภาพรวมและรายสาขา ตามเงื่อนไขของ Stagflation ประเทศไทยในขณะนี้ยังไม่อาจถือว่าอยู่ในภาวะดังกล่าว และยังชี้ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยเริ่มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้เงินเฟ้อจะขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่เฉลี่ยยังอยู่ในกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ และมีโอกาสน้อยที่ทั้งปีจะสูงเกินกรอบดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา รวมทั้งได้ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไปพร้อม ๆ กับการดูแลค่าครองชีพประชาชนเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภาวะ Stagflation ได้อีกด้วย

แหล่งข่าว พาณิชย์ชี้“เงินเฟ้อ”ไทย ไม่เข้าเงื่อนไข Stagflation, bangkokbiznews, 14 ธ.ค. 2564
 

Members online

No members online now.

Forum statistics

Threads
12,180
Messages
12,435
Members
319
Latest member
SEO01

สนับสนุนโดย

Top