วันที่ 11 มี.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ศาลรัฐธรรมนูญนัดแถลงด้วยวาจาและวินิจฉัย กรณีอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา ในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมของสมาชิกรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 (1) ในเวลาประมาณ 09.30 น. กรณีดังกล่าว นายสติธร ธนานิธิโชติ ผอ.สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า ให้ความเห็นมีความเป็นไปได้ 3 แนวทาง คือ
1. รัฐสภามีอำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วในการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2534 มีการเพิ่มหมวดว่าด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่โดยมี ส.ส.ร.
2. รัฐสภาไม่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยมี ส.ส.ร. ได้ เพราะเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 2560 ให้อำนาจรัฐสภาเท่านั้น
3. ศาลจะออกคำวินิจฉัยแบบกลางๆ และต้องตีความต่อ เช่น รัฐสภามีอำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 อยู่แล้ว ส่วนจะแก้อย่างไร หรือเนื้อหาชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น ส.ส. และ ส.ว. สามารถเข้าชื่อยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ได้ภายหลังผ่านวาระ 3 ก่อนขั้นตอนนำขึ้นทูลเกล้าฯ
แหล่งข่าว ระทึก! วันนี้ ศาล รธน.ชี้ขาด อำนาจสภา ตั้ง ส.ส.ร. แก้รธน.ได้หรือไม่, ไทยรัฐ, 11 มี.ค. 2564
1. รัฐสภามีอำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วในการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2534 มีการเพิ่มหมวดว่าด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่โดยมี ส.ส.ร.
2. รัฐสภาไม่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยมี ส.ส.ร. ได้ เพราะเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 2560 ให้อำนาจรัฐสภาเท่านั้น
3. ศาลจะออกคำวินิจฉัยแบบกลางๆ และต้องตีความต่อ เช่น รัฐสภามีอำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 อยู่แล้ว ส่วนจะแก้อย่างไร หรือเนื้อหาชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น ส.ส. และ ส.ว. สามารถเข้าชื่อยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ได้ภายหลังผ่านวาระ 3 ก่อนขั้นตอนนำขึ้นทูลเกล้าฯ
แหล่งข่าว ระทึก! วันนี้ ศาล รธน.ชี้ขาด อำนาจสภา ตั้ง ส.ส.ร. แก้รธน.ได้หรือไม่, ไทยรัฐ, 11 มี.ค. 2564