ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เพิ่มขึ้น 15 เซนต์หรือ 0.2% สู่ 73.66 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลหลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.8% ในวันก่อนหน้า เช่นเดียวกับ WTI ของสหรัฐก็พุ่งขึ้น 23 เซนต์หรือ 0.3% สู่ 70.68 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลหลังจากเพิ่มขึ้น 1.1% ในวันจันทร์ โดยทั้งสองต่างอยู่ใกล้ระดับสูงสุดตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม
ในวันจันทร์เริ่มมีการการอพยพคยงานออกจากแท่นขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่งอ่าวเม็กซิโกของสหรัฐฯ ขณะที่โรงกลั่นน้ำมันบนบกเริ่มเตรียมการสำหรับพายุโซนร้อนนิโคลัส ซึ่งกำลังมุ่งหน้าไปยังชายฝั่งเท็กซัสด้วยลมแรง 70 ไมล์ต่อชั่วโมง (113 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เตรียมปะทะชายฝั่งเท็กซัสและหลุยเซียน่าที่กำลังฟื้นการผลิตจากเฮอริเคยไอดา
ฮิโรยูกิ คิคุคาวะ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายวิจัยของบริษัทหลักทรัพย์นิสสัน กล่าวว่า "ความกังวลเรื่องนิโคลัสกระตุ้นให้เกิดการซื้อเพิ่มขึ้น แม้ว่าความรุนแรงอาจไม่เท่าไอดาก็ตาม
มากกว่า 40% ของผลผลิตน้ำมันและก๊าซในอ่าวสหรัฐยังคงหยุดชะงักในวันจันทร์ โดยเป็นเวลาสองสัปดาห์หลังจากที่เฮอริเคยไอดาขึ้นโจมตีชายฝั่งลุยเซียนา
ทั้งนี้ “แต่ขาขึ้นของตลาดจะถูกจำกัด เนื่องจากฤดูการขับขี่ในฤดูร้อนของสหรัฐลดลง และมีอุปทานเพิ่มขึ้นจากการปล่อยน้ำมันตามแผนจากแหล่งสำรองเชิงยุทธศาสตร์ในสหรัฐและจีน รวมถึงการส่งออกน้ำมันของอิหร่านที่กลับมา” คิกูกาวากล่าว
การเจรจาครั้งใหม่เกี่ยวกับข้อตกลงนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านและตะวันตกกลับคืนมาอีกครั้งหลังจากที่หน่วยเฝ้าระวังปรมาณูของสหประชาชาติบรรลุข้อตกลงกับเตหะรานเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับการบริการอุปกรณ์ตรวจสอบที่เกินกำหนด
ผลผลิตน้ำมันของสหรัฐจากชั้นหินดินดานหลัก 7 แห่ง คาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 66,000 บาร์เรลต่อวันในเดือนตุลาคม เป็น 8.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 ตามรายงานการผลิตการขุดเจาะรายเดือนของ Energy Information Administration
ในขณะเดียวกัน องค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) ได้ปรับลดคาดการณ์ความต้องการน้ำมันของโลกสำหรับไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์เดลต้า
แหล่งข่าว Oil extends gains on worries of U.S. supply disruptions from another storm โดย Reuters
แปลโดยทีม TradersThailand