คณะบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ประกาศเมื่อวันอังคารว่าจะปล่อยน้ำมันหลายล้านบาร์เรลจากแหล่งสำรองเชิงยุทธศาสตร์ ร่วมกับจีน อินเดีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร เพื่อพยายามลดราคาน้ำมัน หลังจากกลุ่ม OPEC+ ยืนยันที่จะไม่อุปทานน้ำมันเพิ่มเติม ราคาน้ำมันดิบแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปีเมื่อเร็วๆ นี้ ขณะที่ ผู้บริโภคต้องรับภาระที่เพิ่มมากขึ้นจากค่าพลังงานที่พุ่ง ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้นมากกว่า 60% นับตั้งแต่ปีที่แล้ว
สหรัฐฯ ตั้งเป้าที่จะปล่อยน้ำมันกว่า 50 ล้านบาร์เรล เท่ากับความต้องการของสหรัฐในจำนวนสองวันครึ่ง ขณะที่อินเดียจะปล่อย 5 ล้านบาร์เรล อังกฤษ 1.5 ล้านบาร์เรล ญี่ปุ่น 4.2 ล้านบาร์เรลภายในสิ้นปีนี้ ทั้งนี้จีนยังไม่ได้เผยรายละเอียด และเกาหลีใต้เผยว่าอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาหลังหารือกับสหรัฐฯ และพันธมิตรอื่นๆ
ราคาน้ำมันดีดตัวขึ้นในวันอังคารหลังจากร่วงลงเป็นเวลาหลายวันเนื่องจากข่าวลือเกี่ยวกับแผนดังกล่าวได้เข้าสู่ตลาด นักวิเคราะห์บางคนยังมองว่าการฟื้นตัวของตลาดเกิดจากการไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนจากจีน สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบเบรนต์เพิ่มขึ้น 3.3% ในวันอังคารที่ 82.31 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
OPEC+ ซึ่งรวมถึงซาอุดิอาระเบียและพันธมิตรอื่นๆ ของสหรัฐฯ รวมถึงรัสเซีย ได้ปฏิเสธที่จะอุปทานเพิ่มเติมในการประชุมประจำเดือน โดยมีกำหนดประชุมอีกครั้งในวันที่ 2 ธันวาคมแต่ยังคงไม่มีสัญญาณว่าจะเปลี่ยนแปลงนโยบายเดิม
อย่างไรก็ตาม Caroline Bain หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์สินค้าโภคภัณฑ์ของ Capital Economics Ltd. กล่าวว่า "ปริมาณการปล่อยน้ำมันนั้นไม่มากพอที่จะลดราคาน้ำมันลงอย่างมีนัยสำคัญ และอาจย้อนกลับมาด้วยซ้ำ หากมันกระตุ้นให้ OPEC+ ชะลอการเพิ่มผลผลิต" ในขณะเดียวกัน ฝ่ายตรงข้ามของไบเดนยังออกมาแย้งในประเด็นลดคาร์บอน และไม่สนับสนุนการพัฒนาเชื้อเพลิงฟอสซิลอีกด้วย
ทั้งนี้ ความเคลื่อนไหวของฝ่ายบริหารสหรัฐถือเป็นการเตือนโอเปกและผู้ผลิตรายใหญ่อื่นๆ “มันส่งสัญญาณไปยังกลุ่ม OPEC+” จอห์น คิลดัฟฟ์ หุ้นส่วนของ Again Capital LLC "OPEC+ อุปทานอย่างจำกัดมาหลายเดือนแล้ว" แต่ Suhail Al-Mazrouei รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ยังคงแย้งว่า "ไม่มีเหตุผล" ในการเพิ่มอุปทานจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
แหล่งข่าว U.S. marshals other nations, challenges OPEC+ with release of oil reserves โดย Reuters
แปลโดยทีม TradersThailand