ถึงแม้ SET Index ปรับลดลง 1.6% นับจากต้นปี แต่ถือว่าดีมาก เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ที่ลดลงเฉลี่ย 20.6% และตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศ Emerging Markets ที่ลดลง 23.8% มีเพียง 10 ตลาดหุ้น ที่มีผลงานดีกว่าไทยในปีนี้
เหตุผลที่ทำให้ตลาดหุ้นส่วนใหญ่อยู่ในขาลง มาจากเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี ในสหรัฐฯ และยุโรป ส่งผลให้ทั้งเฟดและ ECB ต้องขึ้นดอกเบี้ยอย่างรุนแรงและรวดเร็ว
ความเชื่อมั่นของนักลงทุนยังถูกบั่นทอนลงอีก จากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งสุดในรอบ 20 ปี สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อกว่าคาด และนโยบายโควิดเป็นศูนย์ของจีน ที่ซ้ำเติมภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
ยังมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจเข้าสู่ภาวะถดถอย จากการที่เฟดอาจต้องขึ้นดอกเบี้ยสูงถึง 4.5 - 5.0% เพื่อควบคุมเงินเฟ้อให้กลับสู่ระดับเป้าหมายที่ 2%
ภาวะ Inverted Yield Curve ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ รุ่น 2 ปี และ 10 ปี ที่นานติดต่อกันหลายเดือน คือสัญญาณที่ชี้ชัดถึงความเสี่ยงของการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย
นอกจากนั้น ยุโรปกำลังเผชิญกับวิกฤตพลังงานที่น่าเป็นห่วง รวมทั้งทิศทางเศรษฐกิจจีนยังประเมินได้ยาก ตราบใดที่ยังไม่ยกเลิกนโยบายโควิดเป็นศูนย์
ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้นักลงทุนยังไม่รีบร้อนกลับเข้าตลาดหุ้น
หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมตลาดหุ้นไทยยังยืนอยู่ได้ ทั้งที่เงินเฟ้อของไทยก็แตะระดับเกือบ 8% เงินบาทก็อ่อนสุดในรอบ 16 ปี และเศรษฐกิจไทยก็ขยายตัวแค่ 2.5% ในไตรมาสที่สอง
ปัจจัยสำคัญ นอกจากความมั่นคงโดยรวมของระบบเศรษฐกิจไทย คือ ผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียนไทย ซึ่งสะท้อนถึงความสามารถในการรับมือกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนและชะลอตัว และการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว
กำไรสุทธิของบจ. ขยายตัวได้เกินคาดที่ 15% YoY ในไตรมาสสอง และเพิ่มขึ้นถึง 35% จากไตรมาสหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นกำไรรายไตรมาสที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และไม่ใช่แค่บริษัทในกลุ่มพลังงานเท่านั้นที่มีผลประกอบการที่ดี แต่เกือบทุกอุตสาหกรรมมีกำไรที่เติบโตขึ้น
การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว เป็นอีกปัจจัยที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่น และสร้างจุดขายให้ตลาดหุ้นไทย โดยเฉพาะกับกองทุนต่างชาติ นับจากต้นปี เม็ดเงินต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นไทยแล้วถึง 158,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าซื้อรายปีที่สูงที่สุดใน 17 ปี แล้วแนวโน้มตลาดหุ้นไทยจะเป็นอย่างไรต่อไป ?
ในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น บวกกับปัจจัยเสี่ยงจำนวนมากอย่างในปัจจุบัน คงยากที่จะเห็นตลาดหุ้นไหนก็ตามให้ผลตอบแทนที่สูงเหมือนในภาวะปกติ แต่ผมเชื่อว่าทิศทางตลาดหุ้นไทยยังเป็นขาขึ้นในระยะ 6 - 12 เดือนข้างหน้า ด้วยเหตุผลดังนี้
1. แม้เฟดจะเริ่มดูดเงินออกจากระบบผ่านการทำ QT แต่คงต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี กว่าที่สภาพคล่องในตลาดการเงินโลกจะกลับสู่ระดับก่อนเกิดโควิด กองทุนทั่วโลกยังจำเป็นต้องลงทุนในหุ้นเพื่อสร้างผลตอบแทน ผมเชื่อว่าตลาดหุ้นไทยจะยังคงเป็น Safe Haven ของนักลงทุนต่างชาติ
2. เงินบาทน่าจะใกล้ Peak และมีโอกาสกลับมาแข็งค่า โดยได้อานิสงส์การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว บวกกับราคาน้ำมันดิบที่เริ่มเข้าสู่ขาลง ตลาดหุ้นไทยมักปรับตัวดีขึ้นในช่วงเงินบาทแข็งค่า
3.แนวโน้มเงินเฟ้อในประเทศยังไม่น่าห่วง เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ และราคาพลังงานที่เริ่มลดลงช่วยลดแรงกดดันราคาสินค้าได้ระดับหนึ่ง
4. เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้นจาก 3.1% ในปีนี้ เป็น 4.1% ในปีหน้า ผลพวงจากภาคท่องเที่ยวที่คาดว่าจะขยายตัวเกินเท่าตัว สวนทางกับเศรษฐกิจโลกที่มีทิศทางขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง
5. ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไทย ยังมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ที่ดี และ Valuations ของตลาดหุ้นไทยที่ 13.7 เท่า (P/E ปี 2023) ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 15 เท่า
แน่นอน ในภาวะแบบนี้ การลงทุนยังต้องทำด้วยความระมัดระวังสูง หุ้นที่น่าลงทุน คือหุ้นที่ปันผลสม่ำเสมอ และมีแนวโน้มจ่ายเงินปันผลสูงขึ้น
แหล่งข่าว หุ้นไทยจะไปต่อไหม, bangkokbiznews, 21 ก.ย. 2565
เหตุผลที่ทำให้ตลาดหุ้นส่วนใหญ่อยู่ในขาลง มาจากเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี ในสหรัฐฯ และยุโรป ส่งผลให้ทั้งเฟดและ ECB ต้องขึ้นดอกเบี้ยอย่างรุนแรงและรวดเร็ว
ความเชื่อมั่นของนักลงทุนยังถูกบั่นทอนลงอีก จากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งสุดในรอบ 20 ปี สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อกว่าคาด และนโยบายโควิดเป็นศูนย์ของจีน ที่ซ้ำเติมภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
ยังมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจเข้าสู่ภาวะถดถอย จากการที่เฟดอาจต้องขึ้นดอกเบี้ยสูงถึง 4.5 - 5.0% เพื่อควบคุมเงินเฟ้อให้กลับสู่ระดับเป้าหมายที่ 2%
ภาวะ Inverted Yield Curve ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ รุ่น 2 ปี และ 10 ปี ที่นานติดต่อกันหลายเดือน คือสัญญาณที่ชี้ชัดถึงความเสี่ยงของการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย
นอกจากนั้น ยุโรปกำลังเผชิญกับวิกฤตพลังงานที่น่าเป็นห่วง รวมทั้งทิศทางเศรษฐกิจจีนยังประเมินได้ยาก ตราบใดที่ยังไม่ยกเลิกนโยบายโควิดเป็นศูนย์
ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้นักลงทุนยังไม่รีบร้อนกลับเข้าตลาดหุ้น
หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมตลาดหุ้นไทยยังยืนอยู่ได้ ทั้งที่เงินเฟ้อของไทยก็แตะระดับเกือบ 8% เงินบาทก็อ่อนสุดในรอบ 16 ปี และเศรษฐกิจไทยก็ขยายตัวแค่ 2.5% ในไตรมาสที่สอง
ปัจจัยสำคัญ นอกจากความมั่นคงโดยรวมของระบบเศรษฐกิจไทย คือ ผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียนไทย ซึ่งสะท้อนถึงความสามารถในการรับมือกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนและชะลอตัว และการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว
กำไรสุทธิของบจ. ขยายตัวได้เกินคาดที่ 15% YoY ในไตรมาสสอง และเพิ่มขึ้นถึง 35% จากไตรมาสหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นกำไรรายไตรมาสที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และไม่ใช่แค่บริษัทในกลุ่มพลังงานเท่านั้นที่มีผลประกอบการที่ดี แต่เกือบทุกอุตสาหกรรมมีกำไรที่เติบโตขึ้น
การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว เป็นอีกปัจจัยที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่น และสร้างจุดขายให้ตลาดหุ้นไทย โดยเฉพาะกับกองทุนต่างชาติ นับจากต้นปี เม็ดเงินต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นไทยแล้วถึง 158,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าซื้อรายปีที่สูงที่สุดใน 17 ปี แล้วแนวโน้มตลาดหุ้นไทยจะเป็นอย่างไรต่อไป ?
ในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น บวกกับปัจจัยเสี่ยงจำนวนมากอย่างในปัจจุบัน คงยากที่จะเห็นตลาดหุ้นไหนก็ตามให้ผลตอบแทนที่สูงเหมือนในภาวะปกติ แต่ผมเชื่อว่าทิศทางตลาดหุ้นไทยยังเป็นขาขึ้นในระยะ 6 - 12 เดือนข้างหน้า ด้วยเหตุผลดังนี้
1. แม้เฟดจะเริ่มดูดเงินออกจากระบบผ่านการทำ QT แต่คงต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี กว่าที่สภาพคล่องในตลาดการเงินโลกจะกลับสู่ระดับก่อนเกิดโควิด กองทุนทั่วโลกยังจำเป็นต้องลงทุนในหุ้นเพื่อสร้างผลตอบแทน ผมเชื่อว่าตลาดหุ้นไทยจะยังคงเป็น Safe Haven ของนักลงทุนต่างชาติ
2. เงินบาทน่าจะใกล้ Peak และมีโอกาสกลับมาแข็งค่า โดยได้อานิสงส์การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว บวกกับราคาน้ำมันดิบที่เริ่มเข้าสู่ขาลง ตลาดหุ้นไทยมักปรับตัวดีขึ้นในช่วงเงินบาทแข็งค่า
3.แนวโน้มเงินเฟ้อในประเทศยังไม่น่าห่วง เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ และราคาพลังงานที่เริ่มลดลงช่วยลดแรงกดดันราคาสินค้าได้ระดับหนึ่ง
4. เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้นจาก 3.1% ในปีนี้ เป็น 4.1% ในปีหน้า ผลพวงจากภาคท่องเที่ยวที่คาดว่าจะขยายตัวเกินเท่าตัว สวนทางกับเศรษฐกิจโลกที่มีทิศทางขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง
5. ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไทย ยังมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ที่ดี และ Valuations ของตลาดหุ้นไทยที่ 13.7 เท่า (P/E ปี 2023) ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 15 เท่า
แน่นอน ในภาวะแบบนี้ การลงทุนยังต้องทำด้วยความระมัดระวังสูง หุ้นที่น่าลงทุน คือหุ้นที่ปันผลสม่ำเสมอ และมีแนวโน้มจ่ายเงินปันผลสูงขึ้น
แหล่งข่าว หุ้นไทยจะไปต่อไหม, bangkokbiznews, 21 ก.ย. 2565