นายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ชี้แจงว่า อย. ไม่เคยปิดกั้นภาคเอกชนในการนำเข้าวัคซีนโควิด-19 และเชิญชวนให้มาขึ้นทะเบียนนำเข้าวัคซีนโดยพร้อมอำนวยความสะดวก
สำหรับกรณีเอกชนที่ต้องการนำเข้าวัคซีนโควิด-19 เช่น โรงพยาบาลเอกชน ต้องมายื่นเป็นผู้รับอนุญาตนำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักรก่อน จากนั้นจึงยื่นขอขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 ของตนอีกครั้ง ซึ่งเป็นไปตามหลักปฏิบัติสากล เนื่องจากผู้รับอนุญาตนำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อคุณภาพและความปลอดภัยของวัคซีนที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดย อย. จะพิจารณาทั้งความปลอดภัย คุณภาพ และประสิทธิผล จึงได้จัดให้มีช่องทางพิเศษเพื่อรองรับการพิจารณาโดยเร็ว แต่ยังคงมาตรฐานสากล โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณ 30 วัน หลังจากยื่นเอกสารครบถ้วน
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีผู้มาติดต่อเกี่ยวกับการนำเข้าและขอขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 จำนวน 14 ราย ยื่นเอกสารและได้รับอนุมัติขึ้นทะเบียนแล้ว 3 ราย คือ วัคซีนแอสตราเซเนกา โดยบริษัท แอสตราเซเนกา (ประเทศไทย) จำกัด วัคซีนโคโรนาแวค ของบริษัท ซิโนแวค นำเข้าโดยองค์การเภสัชกรรม และวัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน โดยบริษัท แจนเซ่น-ซีแลค จำกัด และอยู่ระหว่างประเมินคำขอขึ้นทะเบียน 1 ราย คือ วัคซีนของบารัต โดยบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด ซึ่งบริษัทยังยื่นเอกสารไม่ครบถ้วน
รองเลขาธิการฯ อย. ยังกล่าวย้ำในตอนท้ายว่า อย. ไม่ปิดกั้นเอกชนในการนำเข้าวัคซีนโควิด-19 พร้อมยินดีที่ภาคเอกชน
แหล่งข่าว อย. ย้ำ ไม่ปิดกั้นเอกชนนำเข้าวัคซีนโควิด เผย ยังไม่มีมายื่นขอขึ้นทะเบียน, ไทยรัฐ, 16 เม.ย. 2564