เช็คลิสต์ ‘ยื่นภาษี’ ปี 2564 ‘ลดหย่อนภาษี’ อะไรได้บ้าง ?

WealthUp

Moderator
Staff member
Optimized-13.JPG

เทศกาล "ยื่นภาษี" กลับมาอีกครั้ง สำหรับ "ปีภาษี2564" สำหรับผู้มีเงินได้ทั้งหลาย ต้องเตรียมยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" ที่ "กรมสรรพากร" จะเปิดให้ยื่นภาษีในช่วง 1 ม.ค.-31 มี.ค. 65

ผู้ที่ต้องยื่นภาษีคือกลุ่มประชาชนไทยที่เป็น "ผู้มีเงินได้" หรือ "รายได้" ทั้งปีเกิน 120,000 บาท โดยจะต้องนำรายได้มา "หักค่าใช้จ่าย" เช่น ผู้ที่มีรายได้จากเงินเดือนและค่าจ้าง ประเภท 40(1) และ 40(2) สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนผู้มีเงินได้ประเภทอื่นๆ ก็จะสามารถหักค่าลดหย่อนแตกต่างกันออกไปตาม "ประเภทเงินได้" ที่ตัวเองได้รับตลอดปี 2564

อย่างไรก็ตามผู้มีเงินได้มีหน้าที่แค่ "เลือกประเภทเงินได้" ของตัวเองให้ถูกต้อง ระบบก็จะคำนวณอัตราค่าใช้จ่ายให้ขณะกรอกยื่นภาษีอัตโนมัติ
นอกจากการหักค่าใช้จ่ายแล้วเรายังสามารถ "ลดหย่อนภาษี" ตามสิทธิต่างๆ ของตัวเองได้ โดยแต่ละบุคคลก็จะมีสิทธิที่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้แตกต่างกันออกไป
"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" จึงชวนไปเตรียมตัว "ลดหย่อนภาษี" ก่อนยื่นภาษีจริง พร้อมเช็คลิสต์ว่าในปีภาษีนี้ผู้มีเงินได้สามารถ "ลดหย่อนภาษี" อะไรได้บ้าง โดยรวบรวมออกเป็น 4 หมวดหมู่สำคัญ ดังนี้

1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว
1.1 ลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
1.2 คู่สมรส 60,000 บาท
1.3 บุตร 30,000 บาท (บุตรคนที่ 2 เป็นต้นไป 30,000 บาท)
1.4 ค่าคลอดบุตร 60,000 บาท (ต่อครรภ์)
1.5 พ่อแม่ 30,000 บาท (ต่อคน)
1.6 ดูแลผู้พิการหรือทุพพลภาพ 60,000 บาท

2. ประกัน/ลงทุน
2.1 ประกันชีวิต/เงินฝากที่มีประกันชีวิต 100,000 บาท
2.2 ประกันสุขภาพตัวเอง 15,000 บาท
ส่วนนี้ (ข้อ 2.1-2.2) รวมกันแล้ว ลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท
2.3 ประกันสุขภาพพ่อแม่ 15,000 บาท
2.4 ประกันสังคม ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 6,225 บาท เนื่องจากในปี 2563 ประกันสังคมมีนโยบายเรียกเก็บเงินสมทบลดลงในช่วงโควิด-19 ระบาด จากสูงสุดเดือนละ 750 บาท ดังนี้ เดือนมกราคม หัก 3% สูงสุด 450 บาท, เดือนกุมภาพันธุ์-มีนาคม หัก 0.5% สูงสุด 75 บาท และเดือนมิถุนายน-สิงหาคม หัก 2.5% สูงสุด 375 บาท
2.5 เบี้ยประกันชีวิตบำนาญ 15% ของเงินได้ ไม่เกิน 200,000 บาท
2.6 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/ กบข./ สงเคราะห์ครูฯ 15% ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาท
2.7 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาท
2.8 กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 200,000 บาท
2.9 กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) 13,200 บาท
ส่วนนี้ (2.5-2.9) รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

3. กระตุ้นเศรษฐกิจ
3.1 ดอกเบี้ยบ้าน 100,000 บาท
3.2 ค่าธรรมเนียมบัตรเดบิต (ธุรกิจที่มีเครื่อง EDC) = เพิ่ม 1 เท่าตามที่จ่ายจริง

4. บริจาค
4.1 บริจาคพรรคการเมือง 10,000 บาท
4.2 การศึกษา กีฬา สังคม และ รพ.รัฐ ลดหย่อน 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลักหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
4.3 บริจาคให้มูลนิธิ องค์กรสาธารณกุศล และบริจาคอื่นๆ สามารถนำมาลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลักหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว

แหล่งข่าว เช็คลิสต์ ‘ยื่นภาษี’ ปี 2564 ‘ลดหย่อนภาษี’ อะไรได้บ้าง ?, bangkokbiznews, 9 พ.ย. 2564
 

Members online

No members online now.

Forum statistics

Threads
12,180
Messages
12,435
Members
319
Latest member
SEO01

สนับสนุนโดย

Top