นักกลยุทธ์ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) ให้ความเห็น ศบค.ขยายเวลาและพื้นที่ควบคุมสูงสุดเข้มงวดอีก 14 วัน ขณะที่ขยายพื้นที่ควบคุมเข้มงวดสูงสุด (สีแดง) ขึ้นเป็น 29 จังหวัด ประมาณการ GDP ปีนี้ worst case จะขยายตัวที่ 0% แต่ถ้าล็อกดาวน์นานเกิน 2 เดือนเสี่ยงที่ GDP จะติดลบได้ ส่วน SET Index มองไว้ที่ 1,450 จุด แนะให้ น้ำหนักลงทุนในหุ้น 50% ถือเงินสด 50%
ขณะที่ บล.กสิกรไทย ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้เหลือโตแค่ 1% จากเดิมคาด 1.8% มองดัชนีหุ้นไทยปีนี้ลงเหลือ 1,610 จุด ปรับลงจาก 1,650 จุด แต่เมื่อมีการล็อกดาวน์ภาครัฐก็จะอัดฉีดเงิน
เข้าระบบเพิ่ม เพื่อให้มีตัวเลขทางเศรษฐกิจ แต่ตอนนี้การท่องเที่ยวไม่มีอยู่แล้ว การบริโภคภายในประเทศก็น้อยลงอยู่แล้ว
สิ่งเดียวที่จะเป็นความคาดหวังได้คือตัวเลขส่งออกที่ดีมากว่าจะช่วยเศรษฐกิจไทยปีนี้ไม่ให้ติดลบ ก็ยังมองแค่เสมอตัวอยู่
ปิดท้าย บล.ทรีนีตี้ แนะกลยุทธ์ลงทุนพอร์ตที่ทยอยสะสมหุ้นมาก่อนหน้านี้ที่ดัชนีต่ำกว่า 1,550 จุดลงมาถือครองหุ้นไว้ก่อนได้ ขณะที่นักลงทุนที่ต้องการเข้าสะสมหุ้นครั้งใหม่รอจังหวะดัชนีย่อตัวแถวแนวรับเดือนนี้ที่ให้ไว้ที่ 1,480-1,500 จุด น่าจะเป็นระดับการเข้าลงทุนที่ปลอดภัย Valuation ต่ำ และมีการซื้อขายที่ระดับ Forward PE 15.5 เท่า เท่านั้น ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง ที่ 17.2 เท่า
ธีมการลงทุนที่น่าสนใจ เดือน ส.ค. มีทั้งหมด 7 กลุ่ม ดังนี้ 1.กลุ่มสินค้าส่งออกจำพวกอาหารและอุตสาหกรรมการเกษตร ได้แก่ PM, SUN, XO 2.กลุ่ม Logistics ที่ยังคงมี Valuation ถูก ได้แก่ NCL, WICE 3.กลุ่มเครื่องดื่มที่มียอดส่งออกช่วยหนุนการเติบโตและมี Upside จากการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ได้แก่ ICHI, SAPPE
4.กลุ่มบรรจุภัณฑ์ที่ Laggard และยังคงมีแนวโน้มการเติบโตของกำไรที่ดี ได้แก่ SFLEX, SFT, UTP 5.กลุ่มการแพทย์ ได้แก่ BDMS, CHG 6.กลุ่มยาและอาหารเสริม ได้แก่ IP, MEGA 7.กลุ่ม Commodities ต้นน้ำ ซึ่งน่าจะได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่อยู่สูงต่อไป ได้แก่ PTTEP
แหล่งข่าว 7 ธีมหุ้นน่าลงทุน, ไทยรัฐ, 3 ก.ค. 2564