D/E Ratio หรือ อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน คืออะไร? บอกอะไรได้บ้าง?

adminthailand1

Administrator

Stock Charts during a live trading session via unsplash.com

หากคุณกำลังวางแผนจะลงทุนในธุรกิจที่ตัวเองรู้สึกสนใจ แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นดูจากตรงไหนดี การดูแค่รายได้หรือกำไรอย่างเดียวอาจไม่พอ แต่ต้องดู “อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน” หรือ D/E Ratio ด้วย เพราะโลกของการทำธุรกิจไม่ได้มีแค่กำไรเพียงอย่างเดียว แต่ค่า D/E คือ อะไร? และจะบอกอะไรกับนักลงทุนในตลาดหุ้นอย่างพวกเราได้บ้าง? มาดูกัน

KEY TAKEAWAYS ON DEBT TO EQUITY RATIO
  • D/E ratio มาจากคำว่า Debt to Equity Ratio คือ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น เพื่อพิจารณาถึงความเสี่ยงในแต่ละบริษัทว่า มีการก่อหนี้เกินตัวหรือไม่?
  • โดยมากแล้วเมื่อค่า D/E สูง มักจะเป็นการบ่งชี้ว่ากิจการนั้นๆ มีความเสี่ยงที่จะขาดทุนอยู่สูง
  • อย่างไรก็ตาม ค่า D/E ของแต่ละประเภทกิจการจะแตกต่างกันออกไป ตัวเลขที่สูงของตลาดธุรกิจประเภทที่ 1 อาจไม่ได้เป็นตัวเลขที่สูงของตลาดธุรกิจประเภทที่ 2 ซึ่งมีธรรมชาติในการดำเนินธุรกิจแตกต่างกัน เป็นต้น
  • ควรวิเคราะห์โดยเปรียบเทียบ ค่า D/E ปัจจุบันกับ D/E ในอดีตที่ผ่านมาของหุ้นตัวนั้น และแนวโน้มในอนาคต และควรที่จะเทียบกับบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน รวมทั้งยังต้องมองปัจจัยอื่นๆ มากกว่าตัวเลขค่า D/E

D/E Ratio คือ อะไร?

ค่า D/E Ratio มาจากคำว่า Debt to Equity Ratio คือ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น เพื่อพิจารณาถึงความเสี่ยงในแต่ละบริษัทว่า มีการก่อหนี้เกินตัวหรือไม่? มีความสามารถมากพอที่จะชำระหนี้ได้มั้ย? โดยดูจากหนี้สินทั้งหมด ไม่ว่าจะ หนี้กู้สินเชื่อของธนาคาร หุ้นกู้ ทุนหมุนเวียนต่างๆ เป็นต้น เพราะหากบริษัทที่คุณสนใจลงทุนมีหนี้มากเกินไป จนค่า D/E Ratio สูง ซึ่งอาจแปลได้ว่า มีภาระหนี้สินสูง จะต้องลุ้นกับความเสี่ยงล้มละลายมากกว่า บริษัทที่มีค่า D/E Ratio ต่ำ

สูตรคำนวณค่า D/E Ratio

สูตรในการคำนวณหาค่า D/E คือ

หนี้สินรวมกันทั้งหมด ÷ ส่วนของผู้ถือหุ้น = อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน


แต่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “หนี้สิน” ในการหาค่า D/E ไม่ใช่ทุนทั้งหมด เพราะโดยปกติแล้ว เจ้าของธุรกิจจะมีทุนจำกัดอยู่ส่วนหนึ่ง จึงมาหาแหล่งทุน เพื่อกู้เงินเพิ่มเติมไปใช้กับธุรกิจให้เกิดความราบรื่น หรือขยายธุรกิจเพิ่มโอกาสสร้างรายได้ ส่วนนักลงทุนจะหาข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สิน และ ส่วนของผู้ถือหุ้น ได้อย่างไร? คำตอบคือ สามารถดูได้จาก งบดุล หรือ งบแสดงฐานะการเงิน

ค่า D/E Ratio บอกอะไร? และพิจารณาอย่างไรดี?

ก่อนที่จะพาทุกคนไปดูว่า ค่า D/E Ratio ต้องพิจารณาอย่างไร ถึงจะรู้ว่า ค่าไหนสูง ค่าไหนต่ำ แบบไหนที่ต้องลุ้นเสี่ยงหนักหน่อย หรือแบบไหนที่ลงทุนได้อย่างสบายใจ ขอพาทุกคนมาดูตัวอย่างการคำนวณกันก่อน

เช่น บริษัท A มีหนี้สินรวมกันทั้งหมด 1,000 บาท และมีส่วนของผู้ถือหุ้น (เงินทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่ลงในธุรกิจนั้นมารวมกัน) 3,000 บาท หมายความว่า ค่า D/E Ratio ของบริษัท A จะอยู่ที่ประมาณ 0.3 เท่า เป็นต้น

ส่วนการพิจารณาค่า D/E Ratio โดยปกติแล้ว ไม่ควรเกิน 2 เท่า เพราะคุณจะต้องทำใจยอมรับความเสี่ยงมากขึ้น ยิ่งค่า D/E ไม่เกิน 1 เท่าได้ยิ่งดี จะถือว่า ค่อนข้างปลอดภัย ยกเว้น สถาบันการเงิน หรือประกัน ฯลฯ เพราะมักจะทำงบการเงินแบบขาดทุนบ่อยๆ ค่า D/E เลยค่อนข้างสูง แต่เรื่องเครดิตการชำระหนี้ หรือการสร้างกำไรให้ธุรกิจไม่ค่อยพบปัญหา

นอกจากนี้ การดูแค่ค่า D/E Ratio อย่างเดียวอาจไม่พอที่จะบอกได้ว่า ธุรกิจนั้นน่าลงทุนหรือไม่ เพราะช่วงนั้นอาจจะมีการกู้เพื่อขยายกิจการครั้งใหญ่ก็เป็นไปได้ คุณอาจจะต้องหาข่าวกิจกรรมของธุรกิจตัวนั้น แนวโน้มรายได้ของธุรกิจในอนาคต ความต้องการของตลาด และอื่นๆ การดูค่า D/E เลยเปรียบเสมือนตัวช่วยเตือนให้ระมัดระวังในการลงทุนแต่ละบริษัทมากขึ้น

อ่านต่อ: P/E Ratio คือ อะไร? อัตราส่วนนี้เกี่ยวอะไรกับการเลือกหุ้น

กิจการประเภทไหนที่มักมีค่า D/E สูง

กลุ่มธุรกิจบางประเภทมักจะมี D/E สูงกว่าเพื่อน นั่นก็คือกลุ่มการเงินและการธนาคาร รวมไปถึงกิจการขนาดใหญ่ที่ทุนสูงมาก เช่น สายการบินต่างๆ หรือโรงงานที่เป็นฐานการผลิตขนาดใหญ่ กลุ่มธุรกิจเหล่านี้มักจะมีค่า D/E สูงเป็นเรื่องปกติ ดังนั้น ข้อแนะนำที่สำคัญคือควรมองอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนเป็นประเภทธุรกิจไป มากกว่าการมองแบบเหมารวมทุกประเภทของกิจการ

ส่งท้าย

สุดท้ายนี้ ค่า D/E Ratio เป็นเพียงตัวช่วยหนึ่งในการพิจารณาความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุนเท่านั้น ไม่อาจบอกได้ 100% ว่า ในอนาคตบริษัทที่คุณลงทุนไปจะรุ่งหรือจะล่วง เพราะฉะนั้นอย่าลืมพิจารณาศึกษารายละเอียดอื่นก่อนลงทุนทุกครั้ง ดังคำกล่าวที่ว่า การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน
 

Members online

No members online now.

Forum statistics

Threads
12,099
Messages
12,354
Members
319
Latest member
SEO01

สนับสนุนโดย

Top