งานวิจัยล่าสุดของ International Labour Organization (ILO) พบว่าการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างมหาศาลต่อการจ้างงานในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวในเอเชียแปซิฟิก
ข้อมูลจาก 5 ประเทศ ได้แก่ บูรไน ดารุสซาลาม มองโกเลีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม พบว่าคนตกงานในภาคธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวในปี 2563 มีจำนวนสูงกว่าภาคธุรกิจอื่นๆ ถึง 4 เท่า
เกือบ 1 ใน 3 ของตำแหน่งงานทั้งหมดที่เสียไปมาจากภาคธุรกิจการท่องเที่ยว โดยมีการประเมินว่าเฉพาะในบรรดา 5 ประเทศดังกล่าวมีคนตกงานถึง 1.6 ล้านคน และด้วยงานจำนวนมากที่เกี่ยวข้องทางอ้อมกับภาคธุรกิจท่องเที่ยว ตัวเลขการประมาณที่แท้จริงของผลกระทบจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ต่อภาคธุรกิจการท่องท่องในภูมิภาคนี้น่าจะมีจำนวนที่สูงกว่านี้มาก
โดยงานวิจัยบ่งชี้ว่า งานเกี่ยวกับการท่องเที่ยวลดลงเล็กน้อย แต่คุณภาพของงานกลับลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะแรงงานหญิงที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก จากการเพิ่มขึ้นของแรงงานหญิงในภาคบริการอาหารและเครื่องดื่ม
การสูญเสียชั่วโมงการทำงานในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวสูงกว่าภาคธุรกิจอื่นๆ ที่เคยคาดการไว้มาก โดยขนาดของชั่วโมงการทำงานที่ลดลงมีขนาดใหญ่กว่าภาคธุรกิจที่ไม่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว 2 ถึง 7 เท่า การสูญเสียชั่วโมงการทำงานในปี 2563 ของภาคส่วนนี้ มีตั้งแต่ 4% ในเวียดนาม ถึง 38% ในฟิลิปปินส์
นอกจากนี้ เนื่องจากงานในระบบในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวลดลง แรงงานได้ย้ายเข้าสู่งานนอกระบบเพิ่มขึ้น
แม้ว่าจะมีการเปิดพรมแดนอีกครั้ง มีการคาดการว่า ในระยะสั้น การกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติจะยังคงไม่มาก จากมุมมองนี้ รัฐบาลในประเทศต่างๆ ที่ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวมีแนวโน้มที่จะกระจายความหลากหลายทางเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมายสูงสุดในการสร้างโอกาสในการจ้างงานในภาคธุรกิจที่ไม่ใช่การท่องเที่ยว
ผลกระทบอย่างรุนแรงต่อธุรกิจและแรงงานในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวในระดับประเทศในฟิลิปปินส์ มีคนตกงานและชั่วโมงการทำงานลดลงโดยเฉลี่ยในปี 2563 สูงที่สุดในบรรดาประเทศต่างๆ ในเอเชียและแปซิฟิก การจ้างงานในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวหดตัวลง 28% (เมื่อเปรียบเทียบกับการหดตัว 8% ในภาคธุรกิจอื่น) และชั่วโมงการทำงานโดยเฉลี่ยที่ 38% สำหรับแรงงานในภาคธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่ชั่วโมงทำงานเป็นศูนย์ต่อสัปดาห์มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 2,000 เท่า (ส่งผลกระทบต่อแรงงานจำนวน 775,000 คน)
ในเวียดนาม ผลกระทบเลวร้ายของวิกฤตที่มีต่อภาคการท่องเที่ยวหลักๆ คือการลดลงของค่าจ้างและการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานที่ไม่เป็นทางการ ค่าจ้างในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวโดยเฉลี่ยลดลงเกือบ 18% โดยลูกจ้างที่เป็นหญิงได้รับค่าจ้างลดลงเกือบ 23% ในขณะที่จำนวนของลูกจ้างนอกระบบในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ในปี 2563 ลูกจ้างในระบบกลับมีจำนวนลดลง 11%
ผลกระทบของวิกฤตต่อการจ้างงานในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวของประเทศไทยบรรเทาเบาบางขึ้น แต่การหดตัวของค่าจ้างและชั่วโมงการทำงานรุนแรงมาก และงานต่างๆ ในภาคการท่องเที่ยวหดตัวลง ขณะที่งานในภาคธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเริ่มมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ค่าจ้างโดยเฉลี่ยในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวลดลงโดยรวม 9.5% อันเนื่องจากแรงงานในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวเปลี่ยนไปทำงานที่มีค่าจ้างต่ำกว่า เช่น กิจการบริการอาหารและเครื่องดื่ม ชั่วโมงการทำงานโดยเฉลี่ยลดลง 10% ตัวเลขการจ้างงานในไตรมาสเรกของปี 2564 ต่ำกว่าช่วงก่อนวิกฤตในทุกธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ยกเว้นกิจการบริการอาหารและเครื่องดื่ม
แหล่งข่าว ILO เผยผลวิจัยจ้างงานธุรกิจท่องเที่ยว ‘ไทย’ ค่าจ้างลด 9.6%, bangkokbiznews, 20 พ.ย. 2564