การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) คืออะไร?

Jettarin.Su

Moderator
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) คืออะไร?
หากนักเทรดทุกท่านอยากรู้ว่าราคาจะไปถึงไหน เพื่อให้ได้คำตอบที่แม่นยำที่สุด การอ่านกราฟบนแพลตฟอร์มการซื้อขายอาจยังไม่เพียงพอ แต่จะต้องติดตามสถานการณ์ของโลกอย่าสม่ำเสมอ อาทิ การลงประชามติที่สำคัญ คำกล่าวของประธานาธิบดีหรือผู้นำประเทศ ตลอดจนสถิติเชิงลบ ที่อาจมีผลต่ออัตราสกุลเงินของประเทศ โดยที่ผ่านมานักลงทุนอาจเคยได้ยินวลีที่ว่า “เงินปอนด์ร่วงจากข่าว ... เงินยูโรพุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์จากข่าว...” ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมักจะใช้ข้อความดังกล่าวในการวิเคราะห์ตลาดพื้นฐาน หรือบริษัทที่มีชื่อเสียงรายงานผลการดำเนินงานในรายไตรมาสที่ไม่ดีหรือได้รับผลกำไรน้อยกว่าการคาดการณ์ก็อาจสร้างความผิดหวังให้นักลงทุนได้ และอาจทำให้ราคาหุ้นของบริษัทนั้นตกลง หรืออาจมีการเทขายก็เป็นได้ นอกจากนี้ ข้อจำกัดทางธรรมชาติ อาทิ ฤดูฝนที่ยาวนานในสหรัฐฯ ซึ่งอาจสร้างความเสียหายให้พืชฝ้าย ส่งผลให้ปริมาณการส่งมอบอาจต่ำกว่าแผนและราคาอาจพุ่งสูงขึ้น โดยทั้งหมดที่กล่าวมานี้เรียกว่า การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

เหตุการณ์ใดบ้างที่ควรคำนึงถึง?
- ปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมืองโลก และสังคม
- การคาดการณ์ภาวะทางเศรษฐกิจ และภาวะโดยทั่วไปของตลาดที่เกี่ยวข้องกับประเทศใดประเทศหนึ่ง
- ภัยธรรมชาติ เช่น สภาพอากาศรุนแรง แผ่นดินไหว และเฮอริเคน ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรง
- สงคราม และความขัดแย้งระหว่างประเทศที่สำคัญ
- เหตุการณ์ทางการเมือง (การเลือกตั้งประธานาธิบดี การลงประชามติต่าง ๆ)
- สถิติที่สำคัญ (ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ) ในภาคอุตสาหกรรมหรือประเทศ

ภัยธรรมชาติ หมายถึง สภาพอากาศที่รุนแรง เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว เฮอริเคน และสึนามิ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือล้มตายจำนวนมาก หรือความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนความหวาดกลัวก็อาจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะรัฐบาลอาจจะต้องจัดสรรงบประมาณจำนวนมากในการฟื้นฟู เป็นผลให้สกุลเงินของประเทศอ่อนตัวลง เช่น เงินเยนของญี่ปุ่นลดลง 0.4% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐหลังแผ่นดินไหวและสึนามิในปี 2554

ประเทศเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางทหาร การจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อรับมือ การรับมือกับความสูญเสีย การควบคุมฝูงชนจากความหวาดกลัวและความวุ่นวายในพื้นที่ โดยทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ล้วนแต่ทำให้เศรษฐกิจอยู่ในภาวะไม่มั่นคง ทั้งนี้ การเผชิญหน้าที่ยืดเยื้ออาจนำไปสู่ความผันผวนของตลาดอย่างมีนัยสำคัญและทำให้สกุลของประเทศคู่สงครามอ่อนค่าลง

ปัจจัยทางการเมือง ประเด็นสำคัญของหมวดหมู่นี้ คือ การเลือกตั้งประธานาธิบดีหรือผู้นำประเทศ ซึ่งมักทำให้เกิดความผันผวนเพิ่มขึ้นในสกุลเงินของประเทศ หากการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลและอาจทำให้เกินความไม่แน่นอนทางการเมืองก็อาจจะนำไปสู่การลดลงของอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินของประเทศ นอกจากนี้ ยังมีเหตุการณ์สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ ข้อคิดเห็นของนักการเมืองหลังการประชุมของฝ่ายบริหาร เรื่องที่ไม่คาดคิด เรื่องอื้อฉาว การคว่ำบาตรระหว่างประเทศ การเผชิญหน้าหรือการพบปะต่าง ๆ ตลอดจนผลการเจรจาของผู้นำประเทศ เป็นต้น

ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ นักเทรดมืออาชีพมักใช้ Economic Calendar เป็นเครื่องมือในการเทรด โดยในช่วงเวลาที่มีการเผยแพร่ข้อมูลสถิติจริงจะปรากฏในคอลัมน์ขวาสุดทันที นอกจากนี้ ยังระบุเวลาในการเผยแพร่ ประเภทของตัวบ่งชี้คำอธิบายค่าก่อนหน้าและค่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ (ใน Calendar จะปรากฏ เครื่องหมายอัศเจรีย์ 3 ตัว):
- มติอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง
- การจ้างงานนอกภาคเกษตร (NFP)
- อัตราการว่างงาน
- ดัชนีราคาผู้บริโภค
- ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)

การเผยแพร่ตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของราคาอย่างไร?
เรามาดูตัวอย่างข้อมูลการจ้างงานที่สำคัญนอกภาคเกษตรในสหรัฐฯ
รายงานรายเดือนที่สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของจำนวนงานในพื้นที่เมืองในช่วงเดือนที่ผ่านมา โดยอัตราที่ค่อนข้างสูงถือเป็นผลบวกสำหรับเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) ทำให้อัตราการเติบโตขึ้น (ยิ่งมีงานมากขึ้น ประชากรก็ยิ่งมีกำลังซื้อสูงขึ้นเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและดึงดูดการลงทุนมากขึ้น)
ในทางกลับกัน ข้อมูลการคาดการณ์มักจะกระตุ้นให้ USD ลดลง
ตามกฎแล้ว ตัวบ่งชี้เศรษฐกิจมหภาคจะไม่ส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์เพียงรายการเดียว แต่กระทบกับหลายรายการพร้อมกัน สมมติว่า NFP แม้จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับเศรษฐกิจของสหรัฐฯ แต่ก็ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของเงินปอนด์ (GBP) หรือยูโร (EUR) ด้วยเช่นกัน เนื่องจากทำคู่กับดอลลาร์ (GBP/USD และ EUR/USD ตามลำดับ)


ข้อมูลจาก Tradersthailand
 

Members online

No members online now.

Forum statistics

Threads
12,099
Messages
12,354
Members
319
Latest member
SEO01

สนับสนุนโดย

Top