ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพคล่อง (Liquidity)

Foun Thai

Administrator
สภาพคล่องคือ สิ่งที่แสดงว่าการซื้อขายสินทรัพย์จะเกิดขึ้นได้อย่างได้รวดเร็วแค่ไหนในราคาที่คงที่ โดยมีการแปลงเป็นเงินสดด้วย สภาพคล่องช่วยประเมินว่าสินทรัพย์จะถูกขายได้รวดเร็วขนาดไหน และด้วยต้นทุนเท่าใด ซึ่งครอบคลุมถึงสินทรัพย์ทางการเงินที่จับต้องได้และไม่ได้ เช่น หุ้นและอาคารพาณิชย์
หากมีสินทรัพย์ที่ "มูลค่าแท้จริง"อยู่ที่ 100 ดอลลาร์ และสามารถแปรสินทรัพย์นั้นเป็นเงินสด 100 ดอลลาร์ได้ทันที นั่นแปลว่าตลาดอยู่ในสภาพที่มีความคล่องอย่างยิ่งยวด แต่ก็เกิดขึ้นได้ยากในโลกแห่งความเป็นจริง
เรายังใช้สภาพคล่องในการวัดว่าผู้ซื้อสินทรัพย์จะสามารถแปรสินทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์ที่จับต้องได้เร็วแค่ไหนหากตลาดมีความคล่องอย่างยิ่งยวด ตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังหาซื้อสินทรัพย์ที่มีมูลค่าแท้จริงอยู่ที่ 100 ดอลลาร์ คุณก็สามารถซื้อสินทรัพย์นั้นได้ด้วยเงิน 100 ดอลลาร์พอดี และรับสินทรัพย์นั้นได้ทันทีเช่นกัน
เราใช้สภาพคล่องในการดูว่ามีผู้ซื้อและผู้ขายอยู่กี่คน ณ ตอนนี้ และใช้วัดว่าการซื้อขายจะประสบความสำเร็จได้อย่างง่ายดายหรือไม่ โดยปกติแล้วสภาพคล่องคำนวณโดยดูที่จำนวนการซื้อขายหรือจำนวนการซื้อขายที่รอดำเนินการ ณ เวลาปัจจุบันในตลาด
สภาพคล่องมีสถานะ "สูง" หากมีอัตราการซื้อขายมากในตลาดและมีอุปสงค์และอุปทานของสินทรัพย์หนึ่งๆ สูง เพราะสภาพเช่นนี้ทำให้การซื้อและขายเป็นไปโดยง่าย หากมีจำนวนผู้ซื้อขายในตลาดน้อยและอัตราการซื้อขายต่ำ สภาพคล่องจะมีสถานะ "ต่ำ"
สภาพคล่องในตลาดมีความสำคัญด้วยเหตุผลหลายประการ แต่เหตุผลหลักคือสภาพคล่องทำให้การเปิดและปิดการขายเร็วขึ้น
โดยทั่วไปแล้ว ตลาดที่มีสภาพคล่องสูงมักมีความเสี่ยงน้อยเพราะผู้เล่นในตลาดยอมเปลี่ยนสถานะการซื้อหรือขายได้ง่ายๆ สภาพแบบนี้ดึงดูดผู้เล่นเข้ามาสู่ตลาดได้มากขึ้น พอมีผู้เล่นมากขึ้น ตลาดก็น่าดึงดูดขึ้นไปอีก ในตลาดที่มีสภาพคล่องสูงนั้น ผู้ขายจะหาผู้ซื้อได้อย่างรวดเร็วโดยไม่จำเป็นต้องลดราคาของสินทรัพย์ลงเพื่อดึงดูดผู้ซื้อ ในทางกลับกัน ผู้ซื้อก็ไม่จำเป็นต้องขึ้นราคาเพื่อให้ได้สินทรัพย์ที่ต้องการ
สภาพคล่องของสินทรัพย์ยังเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดราคา spread บนแพลตฟอร์มการซื้อขายหรือราคา spread ที่นายหน้าจัดหาให้
สภาพคล่องสูงแสดงถึงตลาดที่มีคำสั่งซื้อและขายจำนวนมาก สิ่งนี้จะทำให้ราคาสูงสุดที่ผู้ซื้อยินดีจ่ายและราคาต่ำสุดที่ผู้ขายยอมรับขยับเข้าใกล้กันมากขึ้น กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ หากตลาดมีสภาพคล่องดี ช่องว่างระหว่างราคา bid กับ offer ของ spread จะแคบลง หากตลาดมีสภาพคล่องน้อย ช่องว่างที่ว่าก็จะกว้างขึ้น
มีสาเหตุสองประการที่ทำให้ตลาดมีสภาพคล่องน้อยลง สาเหตุประการแรกคือ ต้นทุนทางอ้อม เป็นไปได้ว่าการแปลงสินทรัพย์เป็นเงินสด 100 ดอลลาร์จะใช้เวลานาน เช่น เราอาจต้องนำสินทรัพย์ออกสู่ตลาด หรือหากเราอยู่ที่ตลาดแล้ว เราอาจต้องรอว่าจะมีคนต้องการสินทรัพย์ของเราไหม การรอคอยเช่นนี้เรียกว่าต้นทุนการรอ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสภาพคล่องที่น้อยและทำให้ตลาดมีสภาพคล่องน้อยลง
สาเหตุประการที่สองคือ ต้นทุนโดยตรง เช่น การจ่ายค่าธรรมเนียมเพื่อให้ขายสินทรัพย์ได้ทันที นั่นคือ แทนที่จะจ่ายต้นทุนทางอ้อมหรือรอให้มีคนมาจ่ายเงินเต็มจำนวน 100 ดอลลาร์ เราอาจตัดเวลารอและจ่ายเงินให้กับ "ตัวแทน" เพื่อทำหน้าที่รอแทนเราก็ได้ โดยให้ตัวแทนทำหน้าที่เป็นคนกลางในการซื้อขายเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง ต้นทุนนี้มีชื่อว่า "ต้นทุนการขาย" หรือ ต้นทุนสภาพคล่อง แต่คนมักรู้จักชื่อ spread มากกว่า
ตัวอย่างเช่น หากเราขายสินทรัพย์ให้กับตัวแทนที่ราคา 99.00 ดอลลาร์ ตัวแทนจะทำหน้าที่รอผู้ที่จะมาซื้อสินทรัพย์ของเราแทน ในกรณีนี้ตัวแทนทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการซื้อขายโดยเก็บค่าธรรมเนียม 1 ดอลลาร์ ดังนั้นแล้ว แม้เราจะไม่มีค่าต้นทุนในการรอ แต่เราก็ไม่มีสภาพคล่องยิ่งยวดเช่นกัน เพราะต้องจ่ายค่าธรรมเนียม
เรามักเรียกผู้ที่เป็นคนกลางในการซื้อขายว่าผู้แทนในตลาดเงิน แต่ก็มีคนใช้คำอื่นๆ เช่นกัน เช่น ผู้เป็นตัวกลางทางการเงิน และโบรกเกอร์
ในตลาดการเงินนั้น สถาบันทางการเงิน เช่น ธนาคารเพื่อการลงทุน มักทำหน้าที่เป็นตัวแทนการซื้อขาย

ใช้สภาพคล่องในการขายอย่างไร
สำหรับการขายในตลาดการเงินนั้น คุณต้องพิจารณาถึงตัวแปรทางสภาพคล่องก่อนที่จะทำการเปิดหรือปิดขาย เพราะว่าสภาพคล่องที่น้อยมักเพิ่มความเสี่ยง เป็นต้นว่า หากมีจำนวนผู้ซื้อและขายในตลาดน้อยและตลาดมีสภาพปั่นป่วน การปิดขายก็เป็นไปได้ยาก
ในสถานการณ์เช่นนี้ คุณอาจอยู่ในสถานการณ์เสียกำไร หรืออาจต้องหาผู้ซื้อผู้ขายหลายคนด้วยราคาที่ต่างกันเพื่อให้ขายหรือซื้อสินทรัพย์ได้ตามที่ต้องการ
สิ่งสำคัญที่สุดที่คุณต้องพึงระลึกไว้คือ สภาพคล่องในตลาดมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่น เปลี่ยนจากสถานะสภาพคล่องสูงไปยังสภาพคล่องต่ำ
การที่สภาพคล่องจะสูงหรือต่ำนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเช่น จำนวนการซื้อขาย และช่วงเวลาในแต่ละวัน หากคุณซื้อขายนอกเวลาตลาด ตลาด ณ ตอนนั้นอาจมีจำนวนผู้ซื้อขายน้อย และตลาดก็จะมีสภาพคล่องน้อยไปด้วย
ตัวอย่างเช่น การซื้อขายคู่สกุลเงิน CHF อาจมีสภาพคล่องน้อยในชั่วโมงการขายในทวีปเอเชีย โดยหากเปรียบเทียบกับชั่วโมงการขายในทวีปยุโรปแล้ว ช่วงราคาของ spread อาจกว้างกว่า
ตลาด Forex มีสภาพคล่องสูงที่สุดในโลกเพราะว่ามีจำนวนการซื้อขายมาก ดังนั้นแล้วในตลาด Forex สภาพคล่องจะขึ้นอยู่กับคู่สกุลเงินว่าจะถูกซื้อหรือขายได้ง่ายแค่ไหน โดยไม่ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเปลี่ยนไป หากคู่สกุลเงินถูกซื้อหรือขายได้อย่างง่ายๆ นั่นแปลว่ามีสภาพคล่องสูง และมีอัตราการซื้อขายของคู่สกุลเงินนั้นสูงด้วย
แม้ตลาด Forex จะมีสภาพคล่องสูง แต่ก็ไม่ได้แปลว่าจะมีช่วงราคาที่มั่นคงไปด้วย จำนวนผู้ซื้อขายคู่สกุลเงินหลักทำให้ช่วงราคามีความไม่แน่นอน และทำให้ราคาแกว่งตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่ตลาดกำลังรับรู้ข่าวใหม่ๆ
คู่สกุลเงินหลักคือ คู่สกุลเงินที่เป็นที่นิยมมากที่สุดบน Forex จึงมีสภาพคล่องมากที่สุด ซึ่งหมายความว่า คู่สกุลเงินเช่น EUR/USD, USD/JPY, GBP/USD, USD/CHF, USD/CAD, AUD/USD และ NZD/USD มีสภาพคล่องสูง ใน Forex นั้น สภาพคล่องมีความสำคัญเพราะว่าช่วยลดความไม่แน่นอนของราคา ทำให้การซื้อขายเป็นไปได้ง่ายขึ้น และลดช่วงราคาของ spread

ข้อมูลจาก Tradersthailand
 

Members online

No members online now.

Forum statistics

Threads
12,124
Messages
12,379
Members
319
Latest member
SEO01

สนับสนุนโดย

Top