ที่สุดตลาดหุ้นไทย ปี2565 ปัจจัย "เงินเฟ้อ" กดดัน (ตอนที่1)

WealthUp

Moderator
Staff member
8.jpg

@เงินเฟ้อ” ตัวแปรหลัก

หลังทั่วโลกเผชิญความหวาดกลัวสงครามโลกครั้งที่ 3 หลัง “รัสเซีย –ยูเครน” เผชิญหน้ากันและมีชาติยุโรปและสหรัฐเข้ามาแทรกแซง จนเกิดการปะทะกันทั้งทางกำลังทหารและเศรษฐกิจ โดยมีผลตรงสินค้าคอมมูนิตี้ราคาน้ำมันที่ขึ้นไปแตะ 120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ตามมาด้วยค่าการกลั่น ราคาปิโตรเคมี และสินค้าซอฟคอมมูนิตี้ที่ต่างพาเหรดขึ้นแบบไม่พัก จนทำให้ราคาสินค้าอาหาร ค่าสาธารณูปโภค ทยอยขึ้นรายเดือน ทำให้ตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐพีคสุดรอบ 40 ปี แตะ 9.1 % เดือนก.ค. แ ละยูโรโซนทะลุ 10.7 % ต.ค. สถิติใหม่นับตั้งแต่มีการเก็บตัวเลขยูโรสแตท

@ “ดอกเบี้ย” ขาขึ้นทั่วโลก

การมาของ เงินเฟ้อพุ่ง แบบไม่ทันตั้งตัวทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ต้องปรับทิศทางนโยบายการเงินด้วยการเร่งขึ้นดอกเบี้ยแทนการคงอัตราดอกเบี้ย เช่นเดียวกับ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ที่ดำเนินนโยบายดอกเบี้ยขาขึ้นเช่นเดียวกัน ทั้งที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที ซึ่งผลที่ตามมาทำให้มีการดึงเม็ดเงินเก็งกำไรในสินทรัพย์เสี่ยงหุ้น ตลาดคริปโทเคอเรนซี่ ตราสารหนี้ ไหลออกเทขายเพื่อไปพักและซื้อเงินสกุลดอลลาร์แทน

ด้านเศรษฐกิจไทยเผชิญแรงกดดันไม่แพ้กันเพราะ เงินเฟ้อของไทยเพิ่มขึ้นและแรงกดดัน “ค่าครองชีพ” ต่างต้องการปรับขึ้นแทบทุกราคาสินค้า และบริการ จนเป็นที่มาภาครัฐต้องเข้ามาพยุงช่วยเหลือ และทำให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดลบระดับแสนล้านบาทและกดดันภาคธุรกิจทันที

@ “ดอลลาร์” ผลตอบแทนสูงสุดอันดับ 1

ความต้องการถือครองดอลลาร์ผ่านตราสารหนี้ระยะสั้นหรือพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปี ทำให้เกิด Inverted yield curve หรือการที่ผลตอบแทนพันธบัตรอายุน้อยกว่าสูงกว่าอายุมากกว่าคือ 10ปี ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่มองว่ายิ่งเกิดขึ้นนานเท่าไรยิ่งเป็นสัญญาณภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ที่จะตามในอนาคตมากเท่านั้น

ขณะที่ผลตอบแทนจากสินทรัพย์เสี่ยงอื่น ต่างพากันเอาตัวแทบไม่รอด ซึ่งตลาดหุ้นไทย สิ้นปี 2564 ดัชนีปิดที่ 1,657.62 จุด ปัจจุบันดัชนีปิดที่ 1,626.80 จุด (26 ธ.ค. 65) เท่ากับ ผลตอบแทนปี 2565 ติดลบ1.85 % จากดัชนีปิดสูงสุดที่ 1,713.20 จุด (ก.พ.65) และปิดต่ำสุด 1,533.37 จุด (ก.ค.) จากปี 2564 ผลตอบแทนจากตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ +14.36% จากดัชนีปิดสิ้นปี 1,657.62 จุด เทียบกับปิดสิ้นปี 2563 ที่ 1,449.35 จุด

ส่วนค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่ารุนแรงหลุด 37 บาทในรอบ 16 ปี และเกือบหลุดที่ 39 บาท ซึ่งปัจจุบันค่าเงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่แถว 34.76 บาท จากการเปิดประเทศเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวถือว่าเป็นตัวนำเข้ารายได้เงินตราต่างประเทศ

อย่างไรก็ตามสถานการณ์ ความผันผวนของเศรษฐกิจโลกยังมีอยู่และเริ่มแบ่งเป็น 2 ฝั่ง อย่างชัดเจนระหว่างเศรษฐกิจถดถอย (สหรัฐ-ยุโรป) และเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว (จีน -เอเชีย) จึงทำให้ทิศทางการลงทุนจะปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วเพื่อแสวงหาผลตอบแทนที่ดีที่สุด

ขณะที่ด้าน “เรียลเซกเตอร์” และภาคธุรกิจมีความเปลี่ยนแปลงและพลิกตัวแบบกลับด้านที่สนใจปี 2565 ซึ่งเป็นธุรกิจอะไรและกระแสอะไรติดตามต่อได้ “ที่สุดตลาดหุ้นไทย 2565 ตอนที่ 2”

แหล่งข่าว ที่สุดตลาดหุ้นไทย ปี2565 ปัจจัย "เงินเฟ้อ" กดดัน (ตอนที่1), bangkokbiznews, 27 ธ.ค. 2565
 

Members online

No members online now.

Forum statistics

Threads
12,148
Messages
12,403
Members
319
Latest member
SEO01

สนับสนุนโดย

Top