มอง “วิกฤติ” หรือ “โอกาส” ของไทย ระบบการเงินโลกปั่นป่วน

WealthUp

Moderator
Staff member
6.JPG

แม้ยังเป็นที่ถกเถียงว่าสถานการณ์ที่เผชิญอยู่ตอนนี้เข้าสู่วิกฤติการเงินแล้วหรือยัง? เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากการผิดนัดชำระหนี้ ไม่ได้มาจากหนี้เสีย แต่มาจากปัจจัยของแต่ละธนาคารที่บริหารและจัดการผิดพลาด แต่จากผลกระทบที่ยังลุกลามต่อเนื่องแม้มีการปิดความเสี่ยงแต่ละจุดแล้ว อาจจะเรียกได้ว่าเรากำลังก้าวขาข้างหนึ่งไปเข้าสู่วิกฤติการเงินเรียบร้อยแล้วก็ได้

จากธนาคารขนาดเล็กของสหรัฐ 3 ราย ทั้ง Silvergate Bank , Silicon valley bank (SVB) และ Signature Bank ขาดทุนจากขายพันธบัตรก่อนครบอายุ จากการไถ่ถอนของเจ้าของธุรกิจในตลาดคริปโทเคอร์เรนซี จนทำให้เกิด “Bank Run”

จนกระทรวงการคลัง และธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ต้องจัดตั้งโครงการ Bank Term Funding Program และการสั่งคุ้มครองเงินฝากของผู้ฝากเงินเต็มจำนวนของทั้ง 2 ธนาคาร (Silicon valley bank (SVB) และ Signature Bank)

ปรากฏกลับเกิดแบงก์ที่มีขนาดใหญ่ของโลก “Credit Suisse ” ตามมาที่เผชิญขาดทุนหนักจากการลงทุนในช่วง 4 ปีหลัง ซึ่ง ธนาคารซาอุดี เนชั่นแนล แบงก์ (Saudi National Bank) หรือ SNB ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด ประกาศว่าไม่เพิ่มทุน มากกว่า10% ซึ่งจะเป็นการทำผิดกฎระเบียบมีนัยว่า “อาการหนัก” เกินช่วยเหลือ จนธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ ยื่นเข้ามาให้เงินกู้ยืม 5 หมื่นล้านฟรังก์ ป้องกันล้มละลาย

สุดท้ายแม้ “Credit Suisse ” เพราะ Too Big To Fail ใหญ่เกินว่าจะปล่อยให้ล้มละลายได้ การที่ UBS บรรลุข้อตกลงเข้าซื้อกิจการด้วยราคา 3 พันล้านฟรังก์สวิส คิดเป็นอัตราแลกหุ้น 1 UBS ต่อ 22.48 CS พ่วงธนาคารสวิสฯ อนุมัติเงินกู้ให้ 1 แสนล้านสวิสฟรังก์เพื่อดำเนินการดีลนี้ด้วยเท่าเป็นการ อุ้มให้พ้นวิกฤตินี้ไปให้ได้

ถัดมากลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐระดมอัดฉีดเงินฝากใน First Republic Bank (FRB) อย่างแข็งขัน เช่น Bank of America, Wells Fargo,Citigroup และ J.P. Morgan รายละ 5 พันล้านดอลลาร์ Goldman Sachs และ Morgan Stanley รายละ 2.5 พันล้านดอลลาร์ และธนาคารอื่นๆ รายละ 1 พันล้านดอลลาร์ รวมเป็นเงินกว่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์ ล้วนแต่เป็นเงินที่ถูกไถ่ถอนออกจาก FRB ไปยังธนาคารใหญ่รายอื่นๆ

ล่าสุดธนาคารกลางโลกยังงัดมาตรการเก่า “เพิ่มสภาพคล่องเงินดอลลาร์” ธนาคารกลางแคนาดา ธนาคารกลางอังกฤษ ธนาคารกลางญี่ปุ่น ธนาคารกลางยุโรป ธนาคารกลางสหรัฐ และธนาคารกลางสวิสฯ ร่วมกันเพิ่มสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ 20 มี.ค.- 30 เม.ย. เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับธนาคารอื่นตามมาอีก

ขณะที่ธนาคารของไทยได้รับผลกระทบทางด้านราคาหุ้นแต่ไม่ได้เจอสถานการณ์ Bank Run ความเชื่อมั่นรับธนาคารของไทยยังแข็งแกร่ง แม้ว่าครึ่งปีแรก 2566 จะเริ่มมีการพูดถึงการบันทึกขาดทุนถือครองพันธบัตรเพิ่มสูงขึ้นแต่ด้วยฐานะการเงินที่เข้มงวด และเกินเกณฑ์มาตลอดพอให้นักลงทุนไทยมองภาพเป็น “โอกาส” ได้เหมือนกัน

แหล่งข่าว มอง “วิกฤติ” หรือ “โอกาส” ของไทย ระบบการเงินโลกปั่นป่วน, bangkokbiznews, 21 มี.ค. 2566
 

Members online

No members online now.

Forum statistics

Threads
12,097
Messages
12,352
Members
319
Latest member
SEO01

สนับสนุนโดย

Top