OPEC+ ยังคงยึดมั่นในแผนการที่จะค่อยๆ เพิ่มกำลังการผลิต 400,000 บาร์เรลต่อวัน (bpd) ในแต่ละเดือนตั้งแต่เดือนสิงหาคม แม้สหรัฐจะพยายามสร้างแรงกดดันต่อ OPEC+ เพื่อเพิ่มการผลิต ด้วยกลุ่มกังวลว่าการเพิ่มขึ้นเร็วขึ้นจะนำไปสู่อุปทานที่ล้นตลาดในปี 2565
ทว่า OPEC+ ก็ยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้ สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ระบุว่า การผลิตโดยกลุ่มยัง น้อยกว่าที่วางแผนไว้ 700,000 บาร์เรลต่อวันในเดือนกันยายนและตุลาคม ส่งผลให้ตลาดตึงตัวและราคาน้ำมันคงจะสูงขึ้นต่อไป
จากอุปสงค์ฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ ฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดนได้กดดัน OPEC+ ต่อหลายครั้งเพื่อเพิ่มการอุปทาน ท่ามกลางราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นสูงและอาจนำไปสู่การชะงักลงของเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว
ไบเดนจึงได้ขอให้จีน อินเดีย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นทำการเบิกจ่ายสต็อกน้ำมันภายในประเทศ ทว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวมีความซับซ้อนและมักจะมีการเบิกใช้ต่อเมื่อเผชิญกับสงครามหรือพายุเฮอริเคนเท่านั้น “การเบิกจ่ายสต็อกน้ำมันจะเป็นเพียงการแก้ไขระยะสั้นสำหรับการขาดดุลเชิงโครงสร้าง และจะสร้างความเสี่ยงต่อการคาดการณ์ราคาในปี 2022 ของเรา” Goldman Sachs ระบุ
แม้ว่าราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นสามารถช่วยผลักดันอุปทานได้ แต่ก็กล่าวว่าการลงทุนถูกขัดขวางจากความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG) และความกังวลเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน นอกจากนี้ Energy Aspects คาดการณ์ว่าการผลิตของกลุ่ม OPEC+ จะ "มีช่องว่างเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อโควตาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ"
ขณะนี้ ซาอุดิอาระเบียกำลังผลิตได้เกือบ 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน ผู้ผลิตสัญชาติรัสเซีย Gazprom Neft กล่าวว่าพวกเขาพยายามดิ้นรนเพื่อผลิตมากขึ้น
อุตสาหกรรมหินน้ำมันของสหรัฐ ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้เปลี่ยนสหรัฐฯ จากผู้นำเข้าน้ำมันดิบสุทธิมาเป็นผู้ส่งออก อาจช่วยบรรเทาแรงกดดันด้านราคาจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงด้านราคายังคงมีอยู่ Russell Hardy หัวหน้าของ Vitol ซึ่งเป็นผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของโลก กล่าวกับรอยเตอร์ในเดือนนี้ว่า "มีความเป็นไปได้ที่ราคาจะพุ่งขึ้นถึง 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล"
แหล่งข่าว Analysis: U.S. wants more oil, but OPEC+ can't turn on the tap much harder โดย Reuters
แปลโดยทีม TradersThailand