P/E Ratio คือ อะไร? อัตราส่วนนี้เกี่ยวอะไรกับการเลือกหุ้น

adminthailand1

Administrator
pe-ratio-price-per-earning-formula.jpeg
Trading in your laptop via unsplash P/E Ratio คือ อะไร? สามารถบอกอะไรเกี่ยวกับหุ้นได้บ้าง แล้วเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าดี มาหาคำตอบไปพร้อมกัน

ผู้ที่กำลังสนใจอยากลองลงทุนเกี่ยวกับหุ้นดูซักครั้ง อาจจะสงสัยว่า ควรจะเลือกลงทุนหุ้นตัวไหนดี? เพราะในตลาดหุ้นตอนนี้ มีหุ้นให้เลือกเยอะมากมายจนลายตา หนึ่งในวิธีวิเคราะห์ เพื่อเลือกลงทุนหุ้นตัวที่น่าสนใจ ซึ่งนักลงทุนทั้งหลายต่างนิยมใช้และอยากแนะนำมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้น อัตราส่วนทางการเงิน อย่างค่า P/E Ratio ส่วนค่า P/E ที่ว่านี้ จะเป็นอะไร และใช้อย่างไร มาดูกัน!

KEY TAKEAWAYS ON P/E RATIO
  • P/E ratio ย่อมาจาก Price Earning Ratio เป็น อัตราส่วนราคาหุ้นเทียบกับกำไรที่ไ่ด้ต่อหุ้น
  • บริษัทที่ไม่มีรายได้หรือสูญเสียรายได้จะไม่มี P/E ratio เพราะไม่มีตัวเลขที่นำมาหาค่าได้
  • P/E แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Forward P/E และ Trailing P/E ที่ถูกใช้กัน
  • ควรวิเคราะห์โดยเปรียบเทียบ ค่า P/E ปัจจุบันกับ P/E ในอดีตของหุ้นตัวนั้น และกับบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน รวมทั้งยังต้องมองปัจจัยอื่นๆ มากกว่าตัวเลขค่า P/E

P/E คืออะไร?

ค่า P/E Ratio หรือ Price Earning Ratio คือ อัตราส่วนทางการเงินที่เทียบกันระหว่าง ราคาหุ้น (Price) หารด้วย กำไรสุทธิ ที่บริษัทผู้ขายหุ้นทำได้ในรอบปีล่าสุด (EPS) ซึ่ง EPS หรือ Earnings Per Share คือ กำไรสุทธิหารด้วยจำนวนหุ้น เพื่อให้เห็นถึงความแพงหรือถูกของหุ้นแต่ละตัวที่คุณจะลงทุน

หากพูดให้เข้าใจง่ายๆ ค่า P/E คือ การประเมินจุดคุ้มทุนว่าอีกกี่ปีถึงจะได้ทุนคืน โดยการนำราคาหุ้นมาหารด้วยกำไรต่อปี เช่น หุ้นแห่งหนึ่ง มีราคา 10 บาท ได้กำไร 1 บาทต่อปี เท่ากับว่า ต้องใช้เวลากว่า 10 ปี ในการคืนทุน จากนั้นให้นำแต่ละตัวในพอร์ตหรือที่กำลังสนใจ มาเทียบกัน หากค่า P/E ต่ำก็อาจแปลได้ว่า ถูก แต่หากค่า P/E สูงก็อาจแปลได้ว่า แพง


สูตรหาค่า P/E

ทั้งนี้ การที่ค่า P/E Ratio ต่ำก็ไม่ได้หมายความว่าหุ้นนั้นถูกเสมอไปทุกกรณี วิธีหาค่า PE Ratio คือ วิธีการประเมินคร่าวๆ เท่านั้น นักลงทุนจำเป็นที่จะต้องประเมินด้วยว่า หุ้นเหล่านี้มีแนวโน้มเติบโตมากน้อยขนาดไหน? สภาพคล่องเป็นอย่างไร?

ประเภทของ P/E ratio

P/E แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ที่ใช้กันแพร่หลาย คือ Forward P/E และ Trailing P/E มีวิธีคำนวณแตกต่างกัน ดังนี้

Forward P/E
วิธีคำนวณคือ ใช้กำไรสุทธิของ 4 ไตรมาสล่าสุด

Trailing P/E
วิธีคำนวณคือ ใช้กำไรสุทธิของ 4 ไตรมาสในอนาคต (ใช้กำไรที่คาดการณ์ในอนาคต)

สามารถนำค่า P/E ไปเลือกหุ้นอย่างไรดี? และข้อควรระวังในการดูค่า P/E

อย่างที่เราได้กล่าวไปในข้างต้นว่า ค่า P/E คือ วิธีการประเมินคร่าวๆ ไม่ควรนำมาใช้ในการตัดสินใจซื้อขายหุ้นทั้งหมด แต่ควรประเมินแนวโน้มของหุ้น เหมือนเรามองหุ้นตัวนั้น เป็น ธุรกิจของตัวเอง ว่า

- หุ้นที่มีแนวโน้มกำไรเพิ่มขึ้น หรือ Growth Stock

แม้จะมีค่า P/E สูง ก็น่าสนใจ แต่สำหรับมือใหม่ อาจจะเลือกตัวที่มี P/E ไม่เกินการขยายตัวของแนวโน้มกำไรต่อปี หรือนำ P/E มาหารด้วยแนวโน้มกำไรต่อปี ยิ่งต่ำกว่า 1 มากเท่าไหร่ ยิ่งดี เพราะบางทีแม้จะมีแนวโน้มเติบโตสูง แต่ต้องรอนานมากๆ อย่างพวกนวัตกรรมต่างๆ ที่รอพัฒนากว่าจะสร้างและออกผลิตภัณฑ์มาขายในท้องตลาด บางตัวก็รอนานหลายสิบปีเหมือนกัน ซึ่งส่วนตัวมองว่า แม้คุณจะมีเงินที่สามารถวางอยู่นิ่งๆ ได้ แต่บางทีนำเงินไปลงทุนตัวอื่นแล้วค่อยวนกลับมาหาตัวนี้อาจจะคุ้มมากกว่าก็ได้

- หุ้นที่มีสภาพคล่องดี

อย่างที่หลายท่านทราบว่า หุ้นที่มีความมั่นคงสูงมักจะไม่ได้ให้กำไรหวือหวา ค่า P/E จึงสูงกว่า หุ้นที่มีมูลค่าตลาดใหญ่ๆ ทั่วไป ใครที่ไม่ซีเรียสเน้นถือเก็บกินกำไรยาวๆ อาจจะเลือกแบบที่มีค่า P/E สูง แต่มีสภาพคล่องดีด้วยก็ได้

นอกจากนี้ การพิจารณา โดยนำหุ้นตัวอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน และค่าเฉลี่ยโดยรวมของอุตสาหกรรมประเภทนั้น มาเทียบกัน ก็เป็นเรื่องจำเป็นไม่น้อย เพื่อให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้นว่า สภาพตลาดอุตสาหกรรมนั้นๆ เป็นอย่างไร? และตัวเลือกไหนในอุตสาหกรรมนั้นน่าจะตอบโจทย์คุณได้ดีที่สุด?

ส่งท้าย

สุดท้ายนี้ ทุกการลงทุนล้วนมีความเสี่ยง แม้ผู้สนใจลงทุนหุ้นจะคำนวณค่า P/E Ratio หรืออัตราส่วนทางการเงินรูปแบบอื่นๆ มาเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม ทุกท่านควรศึกษาข้อมูล ติดตามข่าวสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม และเช็คความถูกต้องของข้อมูลอยู่เสมอ เพื่อให้พอร์ตหุ้นของคุณคืนทุนได้ไวและสร้างกำไรได้ในระยะยาว
 
Last edited:

Members online

No members online now.

Forum statistics

Threads
12,124
Messages
12,379
Members
319
Latest member
SEO01

สนับสนุนโดย

Top